ผลติ ภัณฑ์นาํ้ มันหอมระเหยเพื่อสุขภาพจากมะกรูดและสม้ โอ และการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้
Abstract
วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้ได้พัฒนาตำรับน้ำมันนวดเพื่อสุขภาพจากพืชตระกูลส้มวิธีการศึกษา: สกัดน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด (Citrus hystrix DC.) และส้มโอ (Citrus maxima Merr.) โดยวิธีกลั่นด้วยน้ำ กลั่นด้วยไอน้ำ และกลั่นโดยการบีบคั้น แล้วศกึ ษาคณุ ภาพนำ้ มนั หอมระเหยทั้งคณุ สมบตั ทิ างกายภาพและศกึ ษาองคป์ ระกอบทางเคมี สดุ ทา้ ยตงั้ ตาํ รบัน้ำมันนวดทั้ง 3 ตำรับและประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้อาสาสมัครชาย 6 คน หญิง 13 คน เปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์น้ำมันนวดที่มีขายในท้องตลาดผลการศึกษา: ผลการกลั่นไดป้ ริมาณน้ำมันหอมระเหยคิดเป็นร้อยละปริมาตรต่อน้ำหนักพืชสด ดงั นี้ นำ้ มนั ใบมะกรดู จากการกลั่นดว้ ยนาํ้1.21%, น้ำมันผิวมะกรูดจากการกลั่นด้วยไอน้ำ 1.20%, น้ำมันผิวมะกรูดจากการบีบคั้น 1.05% และน้ำมันผิวส้มโอจากการกลั่นด้วยไอน้ำ0.40% นำน้ำมันหอมระเหยที่ได้ไปศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและศึกษาองค์ประกอบทางเคมี ในการตงั้ ตาํ รบั นาํ้ มนั นวด จะใชน้ าํ้ มนั หอมระเหยที่ได้มาผสมในอัตราส่วนต่าง ๆ โดยเลือกน้ำมันหอมระเหยผสม 3 ตำรับจาก 20 ตาํ รบั ผสมกบั นำ้ มนั ตัวพา ซ่งึ ประกอบดว้ ยนาํ้ มนั ถวั่เหลือง 45%, น้ำมันเมล็ดทานตะวัน 45%, น้ำมันมะพร้าว 5% และน้ำมันงา 5% โดยอัตราส่วนของน้ำมันหอมระเหยผสม:น้ำมันตัวพาเท่ากับ 5:95 พบว่าตำรับที่อาสาสมัครมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ตำรับที่ประกอบด้วยนาํ้ มนั ผวิ มะกรดู จากการบบี คนั้ :นาํ้ มนั ผวิ มะกรดู จากการกลั่นด้วยไอน้ำ:น้ำมันผิวส้มโอจากการกลั่นไอน้ำ ในอัตราส่วน 15:25:60สรุป: ตำรับน้ำมันนวดจากพืชตระกูลส้มมีความเหมาะสมที่จะนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันนวดเพื่อสุขภาพในระดับอุตสาหกรรมต่อไปคำสำคัญ : Citrus hystrix (มะกรูด), Citrus maxima (ส้มโอ), น้ำมันหอมระเหย, ความพึงพอใจThai Pharm Health Sci J 2008;3(2):203-209§Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2008-04-05
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์