บทบาทของไซโตไคน์และเอนไซม์ในน้ำลายต่อสภาวะโรคปริทันต์

Authors

  • นิรดา ธเนศวร

Abstract

โรคปริทันต์มีเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุเริ่มต้น ร่วมกับการตอบสนองจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแต่ละบุคคล ก่อให้เกิดการทำลายอวัยวะปริทันต์ ซึ่งในระหว่างที่มีการดำเนินโรคอยู่นั้น จะมีการสร้างและหลั่งสารทางชีวภาพหลายชนิด ทั้งจากเชื้อโรค เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันและเซลล์ของอวัยวะปริทันต์เอง การตรวจโรคปริทันต์ที่ใช้กันอยู่เป็นมาตรฐานในปัจจุบัน อาศัยการตรวจทางคลินิกประกอบกับการวิเคราะห์ภาพถ่ายรังสี ซึ่งสามารถประเมินได้ในส่วนของโรคที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ไม่สามารถบอกถึงสภาวะลุกลามของโรคที่กำลังเป็นอยู่หรือความเสี่ยงต่อการทำลายอวัยวะปริทันต์ในอนาคตได้ จึงมีความพยายามพัฒนาการตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ ซึ่งสามารถสะท้อนการตอบสนองของร่างกายแต่ละบุคคลได้ชัดเจนกว่า บทความนี้รวบรวมการศึกษาต่าง ๆ ถึงความสัมพันธ์ระหว่างการตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในน้ำลาย ได้แก่ ไซโตไคน์และเอนไซม์ เชื่อมโยงกับอาการทางคลินิก ประเภท และความรุนแรงของโรคปริทันต์ โดยมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการวินิจฉัย การพยากรณ์ และการติดตามผลการรักษาโรคปริทันต์ที่ดียิ่งขึ้น หากพิจารณาปริมาณงานวิจัย พบว่ากลุ่มเอนไซม์เอ็มเอ็มพี อีลาสเตส และไนตริกออกไซด์ เป็นกลุ่มที่มีการศึกษามากกว่าตัวบ่งชี้อื่น ๆ แต่ก็ยังไม่มีรายงานที่ชัดเจนระบุว่าตัวบ่งชี้ทางชีวภาพตัวใดมีความแม่นยำถูกต้องที่สุด อีกทั้งการใช้ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพมากกว่าหนึ่งตัวร่วมกันก็อาจช่วยเพิ่มความถูกต้องยิ่งขึ้น การศึกษาเรื่องตัวบ่งชี้ทางชีวภาพต่าง ๆ ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาการตรวจพิเคราะห์โรคปริทันต์ที่ดียิ่งขึ้นในอนาคตThai Pharm Health Sci J 2009;4(2): 272-281§

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2009-04-19