การยับยั้งอาร์เอ็นเอ: จากพื้นฐานสู่การประยุกต์ใช้
Abstract
การควบคุมการแสดงออกของยีนแบ่งได้หลายระดับ ตั้งแต่การควบคุมในระดับจีโนมไปจนถึงระดับการสร้างและดัดแปลงโปรตีนที่ได้จากยีนการยับยั้งอาร์เอ็นเอ (RNA interference หรือ RNAi) เป็นหนึ่งในกลไกการควบคุมการแสดงออกของยีนในระดับหลังการถอดรหัส (posttranscription)ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไปในสิ่งมีชีวิตกลุ่มยูคาริโอท โดยกลไกเริ่มต้นจากเมื่อมี long-double strand RNA (long-dsRNA)เกิดขึ้นในเซลล์ long-dsRNA นี้จะถูกตัดและดัดแปลงต่อได้เป็น short-interference RNA (siRNA) จากนั้น siRNA จะเข้ารวมกับกลุ่มของเอนไซม์เกิดเป็นคอมเพล็กซ์ซึ่งทำหน้าที่ตัดทำลาย mRNA ที่มีลำดับเบสคู่สมกับ siRNA นั้น เป็นเหตุให้เกิดการยับยั้งการแสดงออกของยีนจากความสามารถนี้ทำให้มีการประยุกต์ใช้กระบวนการ RNAi เพื่อควบคุมการแสดงออกของยีนในหลายด้าน โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อศึกษาหน้าที่ของยีนและศึกษาผลที่เกิดขึ้นเมื่อยีนนั้น ๆ ถูกยับยั้ง มีการประยุกต์ใช้กระบวนการ RNAi ในการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดรักษา ผลจากการศึกษาทดลองแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการนำกระบวนการ RNAi ไปใช้ในการรักษาโรค ดังนั้นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับ RNAi จึงเป็นหัวข้อหนึ่งที่ควรได้รับการพัฒนา เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ในการบำบัดรักษาได้อย่างกว้างขวางในอนาคตต่อไปคำสำคัญ: การยับยั้งอาร์เอ็นเอ, อาร์เอ็นเอไอ, การยับยั้งอาร์เอ็นเอสายสั้น, เอสไออาร์เอ็นเอThai Pharm Health Sci J 2009;4(2):262-271§Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2009-04-18
Issue
Section
Review Article - นิพนธ์ปริทัศน์
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์