การปรับปรุงเนื้อหาของแบบสอบถามการใช้ชีวิตอยู่กับโรคหัวใจ ล้มเหลวของมินเนโซตาฉบับภาษาไทยด้วยวิธีการสัมภาษณ์ กระบวนการคิดในการตอบแบบสอบถาม

Authors

  • วิวัฒน์ ตั้งสถิตเกียร
  • พรรณทิพา ศักดิ์ทอง

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อแปลแบบสอบถาม Minnesota Living with Heart Failure Questionnaire (MLHFQ) เป็นฉบับภาษาไทยและปรับปรุงเนื้อหาของแบบสอบถาม MLHFQ ฉบับภาษาไทย วิธีการศึกษา: แปลแบบสอบถาม MLHFQ ซึ่งมี 21 ข้อ แล้วปรับปรุงโดยวิธีสัมภาษณ์กระบวนการคิดในการตอบแบบสอบถาม (cognitive interview) โดยวิธี probing การศึกษาทำในผู้ป่วยนอกโรคหัวใจล้มเหลวแบบเรื้อรัง ณห้องตรวจโรคหัวใจและอายุกรรมทั่วไป โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าจำนวน 25 ราย ผลการศึกษา: พบว่ามีปัญหาที่เกิดจากการแปลแบบสอบถามในคำถาม 2 ข้อที่อาจจะหาคำในภาษาไทยมาครอบคลุมวลีในภาษาอังกฤษได้ยาก คือ ข้อที่ 7 และ 18 จากการสัมภาษณ์กระบวนการคิดในการตอบแบบสอบถาม ปัญหาที่พบมีทั้งสิ้น 60 ครั้ง และสามารถจัดกลุ่มปัญหาที่เกิดขึ้นได้เป็น 4 ประเภทตามกระบวนการคิดในการตอบแบบสอบถาม คือ ความเข้าใจเนื้อหา (comprehension) 39 ครั้ง การนึกถึงข้อมูลในการตอบ (retrieval) 5 ครั้งการตัดสินใจ (judgment) 13 ครั้ง และการตอบคำถาม (response) 3 ครั้ง ข้อคำถามที่มีปัญหาในเรื่องความเข้าใจเนื้อหามี 3 ข้อ ได้แก่คำถามข้อที่ 1, 9 และ 18 รวมทั้งคำอธิบายก่อนทำแบบสอบถาม จากปัญหาที่พบได้นำไปแก้ไขเนื้อหาแบบสอบถาม สรุป: การศึกษานี้พบว่าแบบสอบถามนี้สามารถนำมาแปลภาษาไทยได้ง่าย พบปัญหาจากการให้คำจำกัดความน้อย และจากการสัมภาษณ์กระบวนการคิดในการตอบแบบสอบถามการใช้ชีวิตอยู่กับโรคหัวใจล้มเหลวฉบับภาษาไทยที่ได้จากการแปล สามารถช่วยในการระบุปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการตอบแบบสอบถามนี้ ก่อนที่จะนำแบบสอบถามนี้ไปทดสอบคุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา (psychometric properties) อื่น ๆ หรือใช้ในการประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ (health-related quality of life) ในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวแบบเรื้อรังต่อไปคำสำคัญ: คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ, แบบสอบถาม, โรคหัวใจล้มเหลว, Minnesota Living with Heart Failure QuestionnaireThai Pharm Health Sci J 2009;4(2):227-235§

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2009-04-16