การตอบรับของแพทย์ พยาบาล และผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมต่อการให้บริบาลทางเภสัชกรรม

Authors

  • อภิรติ หย่างไพบูลย์
  • มยุรี ตั้งเกียรติกำจาย
  • สมฤทัย วัชราวิวัฒน์

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการตอบรับของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แพทย์ และพยาบาลหลังการให้บริบาลทางเภสัชกรรมโดยเภสัชกร วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental study) นี้ มีประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทุกรายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 13 ราย ที่รับการรักษา ณ หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในช่วง 1พฤษภาคม ถึง 9 มิถุนายน พ.ศ. 2549 โดยเภสัชกร 2 คนให้การบริบาลทางเภสัชกรรมและเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอก สัมภาษณ์ผู้ป่วย และวิเคราะห์ผลร้อยละของความยอมรับ ผลการศึกษา: พบว่าผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและเป็นเพศหญิง มีจำนวนยาที่ต้องรับประทานในแต่ละวัน 11 - 15 ขนาน หรือ 21 - 25 เม็ดต่อวันพบว่าก่อนให้การบริบาลทางเภสัชกรรม ปัญหาความไม่ร่วมมือในการรักษา (non-compliance of life style modification) เป็นปัญหาที่พบมากที่สุด (ร้อยละ 38.5) ซึ่งมีสาเหตุจากผู้ป่วยไม่สามารถจำกัดอาหารได้อย่างเหมาะสม ปัญหารองลงมา คือ ผู้ป่วยได้รับยาในขนาดที่ต่ำหรือสูงเกินไป (ร้อยละ 30.8 และ 23.1 ตามลำดับ) สำหรับผลการตอบรับการบริบาลทางเภสัชกรรม พบว่าผู้ป่วยให้การยอมรับและปฏิบัติตามสูง (ร้อยละของจำนวนครั้งการตอบรับเท่ากับ 96.5) ซึ่งการบริบาลทางเภสัชกรรมส่วนใหญ่เป็นการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการควบคุมอาหาร (ร้อยละ 37.9) รองลงมาคือ การจัดทำแผ่นพับข้อมูลยาให้แก่ผู้ป่วย ให้คำแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ (ร้อยละ 31.0และ 11.5 ตามลำดับ) นอกจากนี้ พบว่าแพทย์ตอบรับการบริบาลทางเภสัชกรรมร้อยละ 77.5 ซึ่งส่วนใหญ่เภสัชกรให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเปลี่ยนขนาดยา หรือปรับเวลารับประทานยาของผู้ป่วย (ร้อยละ 47.5) รองลงมา คือให้คำแนะนำการเพิ่มชนิดยา และการเปลี่ยนชนิดยา(ร้อยละ 27.5 และ 12.5 ตามลำดับ) ส่วนพยาบาลให้การตอบรับทุกครั้งเมื่อเภสัชกรให้การบริบาลทางเภสัชกรรม (2 ครั้ง) สรุป: บทบาทของเภสัชกรในการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ได้ร้บการยอมรับจากผู้ป่วย แพทย์และพยาบาล ดังนั้นเภสัชกรควรมีบทบาทสำคัญร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มนี้เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์และความปลอดภัยจากการใช้ยาคำสำคัญ: ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, การให้บริบาลทางเภสัชกรรม, การตอบรับThai Pharm Health Sci J 2009;4(2):217-226§

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2009-04-15