ความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านเรโทรไวรัสในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคติดเชื้อเอชไอวีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ที่รับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมุทรสาครระหว่างเดือนกรกฏาคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 2550 จำนวน 120 คน ประเมินความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านเรโทรไวรัสด้วยวิธีนับเม็ดยาและวิธีรายงานโดยผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยเป็นผู้ให้คะแนนความสม่ำเสมอในการรับประทานยาบน visual analogue scale ผลการศึกษา: มีตัวอย่างผู้ป่วย 120 คน เป็นเพศชาย (ร้อยละ 48) พอ ๆ กับเพศหญิง อายุเฉลี่ย 36.1 ± 7.2 ปี และส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยได้รับยาสูตร GPOvir (S30) ความสม่ำเสมอในการรับประทานยาเมื่อประเมินโดยวิธีนับเม็ดยา (ร้อยละ 101.2 ± 9.7) มีค่าสูงกว่าเมื่อประเมินโดยวิธีการรายงานโดยผู้ป่วย (ร้อยละ 88.5 ± 11.3) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) ความสม่ำเสมอในการรับประทานยาไม่แตกต่างกันระหว่างผู้ป่วยที่รับประทานยา 1 รายการ และมากกว่า 1รายการ ความสม่ำเสมอในการรับประทานยาที่ได้จากการนับเม็ดยามีค่าเกินกว่าร้อยละ 100 อาจเกิดจากผู้ป่วยทำยาหายหรือเม็ดยาแตกทำให้เม็ดยาเหลือน้อยกว่าที่ควร ในทางตรงกันข้ามความสม่ำเสมอในการรับประทานยาที่ได้จากการรายงานโดยผู้ป่วย อาจมีค่าต่ำความเป็นจริง เนื่องจากผู้ป่วยไม่กล้าให้คะแนนตนเองเพราะเกรงว่าจะมากหรือน้อยเกินไป สรุป: ความสม่ำเสมอในการรับประทานยาของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีเมื่อประเมินโดยวิธีนับเม็ดยามีค่าเกินกว่าร้อยละ 100 และมีค่าสูงกว่าวิธีรายงานโดยผู้ป่วย และผู้ที่รับประทานยา 1 รายการและมากกว่า 1 รายการ มีความสม่ำเสมอในการรับประทานยาไม่แตกต่างกันไม่ว่าประเมินโดยวิธีใดคำสำคัญ: ความสม่ำเสมอในการรับประทานยา, การติดเชื้อเอชไอวีThai Pharm Health Sci J 2009;4(2):202-207§Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2009-04-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์