การทำนายค่ากำจัดยาฟีโนบาร์บิทาลในผู้ป่วยแต่ละกลุ่มอายุ โดยใช้ข้อมูลจากการตรวจวัดระดับยาในเลือด พ
Abstract
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่ากำจัดยาของฟีโนบาร์บิทาล (phenobarbital) ที่สามารถใช้คำนวณขนาดยาในประชากรไทยทุกกลุ่มอายุได้ เนื่องจากแนวทางการคำนวณขนาดยาเริ่มต้นรวมทั้งการปรับขนาดยาฟีโนบาร์บิทาลในผู้ป่วยที่มีใช้กันทางปฏิบัตินั้น จะใช้ค่ากำจัดยา (clearance) ที่อ้างอิงในรายงานหรือในตำรา ซึ่งค่ากำจัดยาที่มีรายงานนั้น มีความแตกต่างกันขึ้นกับอายุของประชากรนอกจากนี้ค่ากำจัดยาในกลุ่มประชากรที่มีอายุใกล้เคียงกัน ยังมีค่าที่หลากหลาย ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในการนำไปใช้ทางปฏิบัติ วิธีการศึกษา: เป็นการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากข้อมูลการตรวจวัดระดับยา โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช คำนวณค่ากำจัดยาที่สังเกต(observed clearance) จากระดับยาที่วัดได้ และหาสมการเพื่อคำนวณค่ากำจัดยา โดยพิจารณาอายุและยาอื่นที่ใช้ร่วม ผลการศึกษา:พบว่าสมการสำหรับคำนวณค่ากำจัดยาที่ได้จากการศึกษา เป็นดังนี้ สำหรับผู้ป่วยอายุ < 12 ปี ใช้ CL = 9.73 x factor; อายุ 12 – 18 ปี ใช้CL = [9.73 –0.838(age-12)] x factor; อายุ > 18 ปี ใช้ CL = 4.71 x factor โดย CL คือ ค่ากำจัดยามีหน่วยเป็น ml/h/kg และ factor มีค่าดังนี้ คือ มีค่า = 1 เมื่อใช้ฟีโนบาร์บิทาลอย่างเดียว; มีค่า = 0.66 และ 0.83 เมื่อใช้ฟีโนบาร์บิทาลร่วมกับ valproic acid และ phenytoinตามลำดับ สรุป: การศึกษาค่ากำจัดยาของฟีโนบาร์บิทางในผู้ป่วยไทย ทำให้ได้สมการคำนวณค่ากำจัดยาฟีโนบาร์บิทาลที่มีรูปแบบง่ายและสะดวกในการนำไปใช้ สามารถใช้กำหนดระดับยาที่ต้องการได้ชัดเจน แม้จะใช้ยากันชักอื่นร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมาจากค่าเภสัชจลนศาสตร์ของประชากรไทย จึงทำให้มีความมั่นใจในการนำไปใช้กับผู้ป่วยมากกว่าวิธีดั้งเดิมคำสำคัญ: ค่ากำจัดยา, ฟีโนบาร์บิทาล, การตรวจตราติดตามระดับยาในเลือดThai Pharm Health Sci J 2009;4(2):169-176§Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2009-03-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์