ตัวบ่งชี้ทางเภสัชพันธุศาสตร์เพื่อการทำนายอาการผื่นแพ้ยา
Abstract
บทคัดย่อแม้จะมีความพยายามในการคิดค้นและพัฒนายาใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ยาที่มีประสิทธิผลดีขึ้น และลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา แต่เมื่อมีการนำมาใช้ในเวชปฏิบัติยังพบอุบัติการณ์การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในผู้ป่วยอยู่เสมอ โดยเฉพาะเกิดอาการไม่พึงประสงค์โดยไม่ทราบสาเหตุ (idiosyncrasy) เช่น อาการผื่นแพ้ยา ซึ่งในภายหลังพบว่าความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนเอชแอลเอ (human leukocyte antigen gene; HLA gene) เป็นปัจจัยหลักในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ประเภทนี้ ซึ่งพยาธิกำเนิดไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางเภสัชจลนศาสตร์ของยาเลย ดังนั้นจึงไม่สามารถคาดคะเนจากฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยาได้ วิธีการจัดการเพียงประการเดียวคือต้องเปลี่ยนชนิดของยาที่ใช้ในการรักษา สำหรับการป้องกันจะสามารถทำได้โดยการตรวจหาตัวบ่งชี้ทางเภสัชพันธุศาสตร์ของยาก่อนเริ่มการรักษาหรือเลือกใช้ยา บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลตัวบ่งชี้ทางเภสัชพันธุศาสตร์ที่มีการศึกษาวิจัยในระดับคลินิกเพื่อการเปลี่ยนหรือเลือกใช้ยา ซึ่งบางชนิดมีการนำไปใช้ในเวชปฏิบัติแล้ว และอีกหลายชนิดมีโอกาสที่จะนำไปใช้ในเวลาอันใกล้ พร้อมทั้งแสดงปัญหาและอุปสรรคที่อาจพบได้ ตลอดจนเสนอแนะแนวทางการแก้ไข เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมคำสำคัญ: ตัวบ่งชี้ทางเภสัชพันธุศาสตร์, การรักษาเฉพาะบุคคล, ผื่นแพ้ยา, เอชแอลเอ, อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาThai Pharm Health Sci J 2009;4(4):532-538§Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2009-08-19
Issue
Section
Review Article - นิพนธ์ปริทัศน์
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์