ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
Abstract
บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อวิชาชีพพยาบาล แรงจูงใจจากความคาดหวัง อัตมโนทัศน์ของพยาบาลวิชาชีพ และบรรยากาศองค์กรกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 124 คน คัดเลือกโดยสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ทัศนคติต่อวิชาชีพพยาบาล แรงจูงใจจากความคาดหวัง อัตมโนทัศน์ของพยาบาลวิชาชีพ และบรรยากาศองค์กร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับค่อนข้างมาก พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ แรงจูงใจจากความคาดหวัง (r = 0.663) บรรยากาศองค์กร (r = 0.641) และอัตมโนทัศน์ของพยาบาลวิชาชีพ (r = 0.362) ส่วนทัศนคติต่อวิชาชีพพยาบาลเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.207) สรุป: ผลการวิจัยเสนอแนะว่าเพื่อเสริมสร้างและรักษาไว้ซึ่งความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ อันจะก่อให้เกิดความเข้มแข็งและมั่นคงขององค์กรโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ผู้บริหารทุกระดับต้องให้ความสำคัญโดยจัดโปรแกรมกระตุ้นการรับรู้ เพื่อพัฒนาทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง มีระบบความก้าวหน้าของการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้รับรู้ร่วมกัน ตลอดจนให้บุคลากรพยาบาลมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรในทุกระดับคำสำคัญ: พยาบาลวิชาชีพ, ความพึงพอใจ, ทัศนคติต่อวิชาชีพพยาบาล, แรงจูงใจจากความคาดหวัง, อัตมโนทัศน์, บรรยากาศองค์กรThai Pharm Health Sci J 2009;4(4):517-523§Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2009-08-19
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์