การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดซื้อยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลภาครัฐในจังหวัดนนทบุรี
Abstract
บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดซื้อยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ สำหรับโรงพยาบาลภาครัฐในจังหวัดนนทบุรี ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นครอบคลุมข้อมูลยาที่จำเป็นในการจัดซื้อยา 3 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ ข้อมูลบัญชียาหลักแห่งชาติปี 51 ข้อมูลราคายา และข้อมูลองค์ประกอบอื่นของยา วิธีการศึกษา: วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศใช้หลักการของวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ เริ่มจากการศึกษาความเป็นไปได้ของระบบโดยการสัมภาษณ์เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลภาครัฐในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 8 แห่ง รวม 8 คน จากนั้นวิเคราะห์ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยใช้โปรแกรม AppServ เวอร์ชัน 2.5.9 และโปรแกรม PHPMaker เวอร์ชัน 5.0.2 ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows XPProfessional จากนั้นให้เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลภาครัฐในจังหวัดนนทบุรีจำนวน 8 แห่ง รวม 20 คน ทดลองใช้และประเมินความพึงพอใจต่อระบบที่พัฒนาขึ้น ผลการศึกษา: ระบบสารสนเทศบนเว็บที่พัฒนาขึ้นสามารถบันทึกแก้ไขและค้นหาข้อมูลที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดซื้อยาได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ผู้ใช้มีความพึงพอใจด้านการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ การรายงานผล และภาพรวมของระบบในระดับมาก ส่วนการค้นหาข้อมูลมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด ทั้งนี้ระบบช่วยให้สามารถปรับปรุงข้อมูลและประมวลผลได้ทันที มีข้อมูลที่จำเป็นที่เป็นองค์ประกอบหลักในการจัดซื้อยา ในการพัฒนาและออกแบบระบบพบว่าสามารถใช้ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้หลายระดับ เช่น ข้อมูลบัญชียาหลักแห่งชาติราคากลาง ราคาอ้างอิง ข้อมูลยามาตรฐาน 24 หลัก รูปแบบยา หน่วยบรรจุย่อย ชื่อการค้า ข้อมูลบริษัทยา ประเทศผู้ผลิต และหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยานอกจากนี้ยังมีช่องทางเพิ่มเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลราคาในการจัดซื้อยาระหว่างโรงพยาบาลภาครัฐด้วยกัน สรุปผลการศึกษา: ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดซื้อยาในบัญชียาหลักแห่งชาติสำหรับโรงพยาบาลภาครัฐในจังหวัดนนทบุรีสามารถรวมข้อมูลที่ใช้ในการจัดซื้อยาให้อยู่ในแหล่งข้อมูลเดียวกันในรูปเว็บไซต์ ทำให้สะดวก รวดเร็ว สามารถปรับปรุงข้อมูลและประมวลผลได้ทันทีคำสำคัญ: การพัฒนาระบบสารสนเทศ, การจัดซื้อยา, บัญชียาหลักแห่งชาติThai Pharm Health Sci J 2009;4(4):500-507§Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2009-09-18
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์