ลักษณะบริการเภสัชสนเทศในประเทศไทย

Authors

  • ธีราพร ชนะกิจ
  • ฎายิน กุมภลำ
  • น้องเล็ก คุณวราดิศัย
  • ยุทธศิลป์ สวัสดิ์วงค์ชัย
  • นิตยา รักษาวงค์

Abstract

บทคัดย่อวัตถุประสงค์: การสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้บริการเภสัชสนเทศ (Drug information service; DIS) ของโรงพยาบาลในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัดของศูนย์สารสนเทศและวิจัยระบบยา (ศสวย) วิธีการศึกษา: ส่งแบบสอบถามไปทางไปรษณีย์ไปยังโรงพยาบาลทั่วประเทศ ผลการศึกษา: จากแบบสอบถาม 1,336 ฉบับได้รับการตอบกลับ 575 แห่ง (ร้อยละ 43.0) มีโรงพยาบาลที่มีศูนย์ DIS เต็มรูปแบบ 50 แห่ง(ร้อยละ 8.70) โรงพยาบาลที่มีศูนย์ DIS บางส่วน 307 แห่ง (ร้อยละ 53.39) และยังไม่มีศูนย์ DIS 218 แห่ง (ร้อยละ 37.91) ในโรงพยาบาลที่มีการให้บริการเภสัชสนเทศมีปริมาณคำถามโดยเฉลี่ยที่ให้บริการส่วนใหญ่ คือ 1 - 10 คำถามต่อเดือน (ร้อยละ 55.74) เวลาในการตอบคำถามส่วนใหญ่คือ น้อยกว่า 15 นาที (ร้อยละ 66.27) ผู้ถามคำถามส่วนใหญ่ คือพยาบาล ร้อยละ (75.91) ชนิดของคำถามส่วนใหญ่คือ adverse drug reaction(ร้อยละ 28.85) เอกสารอ้างอิงส่วนใหญ่ที่ใช้ ได้แก่ AHFS Drug Information, Drug Facts and Comparisons, Martindale: The ExtraPharmacopoeia, Drugs in Pregnancy and Lactation, Handbook on Injectable Drug, Drug Interactions Fact โดยปีที่พิมพ์ส่วนใหญ่คือ ก่อนปีค.ศ. 2005 เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานด้านเภสัชสนเทศส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อการให้บริการเภสัชสนเทศ ส่วนน้อยมีระบบในการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลที่ให้บริการเภสัชสนเทศและการประเมินความพึงพอใจโดยผู้รับบริการ โรงพยาบาลส่วนใหญ่จะจัดทำข้อมูลยาแก่คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด เภสัชกรผู้จัดทำข้อมูลยาเป็นผู้นำเสนอข้อมูลเอง หัวข้อส่วนใหญ่ขององค์ความรู้ที่นำไปเผยแพร่เพื่อแก้ไขปัญหาขององค์กร คือ การบริหารยากลุ่มเสี่ยง สรุป: ผลการศึกษานี้แสดงภาพรวมการให้บริการด้านเภสัชสนเทศในประเทศไทย ในอนาคตอาจใช้งานวิจัยนี้ในการกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในงานบริการเภสัชสนเทศและเพิ่มมาตรฐานในการให้บริการเภสัชสนเทศคำสำคัญ: การบริการเภสัชสนเทศ, ประเทศไทย, ตัวชี้วัดThai Pharm Health Sci J 2009;4(4):490-499§

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2009-10-15