การใช้ยาเพื่อการจัดการภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดหัวใจ ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลชุมชน
Abstract
บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการใช้ยาเพื่อการจัดการภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลชุมชน โดยใช้เกณฑ์ medication assessment tool for coronary artery disease (MAT-CHD) และกำหนดเป้าหมายการรักษาตามแนวทางของสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (ADA, 2008) วิธีการศึกษา: ศึกษาในผู้ป่วยนอกจำนวน 353 ราย ที่ได้จากการสุ่มแบบมีระบบจากผู้ป่วยที่รับบริการที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลตาคลี ตั้งแต่ธันวาคม 2551 ถึงมีนาคม 2552 ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 353 ราย มีโรคอื่นร่วมด้วยร้อยละ52.4 โรคร่วมที่พบมากที่สุด คือ ความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 88.7) และไขมันในเลือดสูง (ร้อยละ 85.3) ผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดHbA1C ไขมันในเลือด และความดันโลหิตให้อยู่ในเป้าหมายการรักษาคิดเป็นร้อยละ 41.4, 32.5, 35.6 และ 32.4 ตามลำดับ มีการใช้แอสไพรินเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิร้อยละ 24.5 และ 100.0 ตามลำดับ จากการประเมินความสอดคล้องของการใช้ยาเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจโดยใช้ MAT-CHD พบว่ามีข้อที่อยู่ในเกณฑ์สอดคล้องปานกลาง 1 ข้อ และสอดคล้องต่ำ 8 ข้อ ซึ่งควรแก้ไขให้สูงขึ้น ได้แก่ การสั่งใช้แอสไพรินอย่างปลอดภัย การใช้แอสไพรินถูกขนาด การใช้ยากลุ่ม beta-blockers การสั่งใช้ ACE inhibitors ในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย การสั่งใช้แอสไพรินเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจแบบปฐมภูมิ การใช้ statin เพื่อการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจแบบปฐมภูมิ การควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเป้าหมายการรักษา การควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเป้าหมายการรักษา และการสั่งใช้ ACE inhibitor ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ สรุป: เมื่อประเมินความสอดคล้องของการใช้ยาเพื่อจัดการภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดหัวใจโดยใช้ MATCHDพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานควรใช้ยาเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการรักษาตามแนวทาง ADA (2008)คำสำคัญ: การใช้ยา, ภาวะแทรกซ้อน, โรคหลอดเลือดหัวใจ, เบาหวาน, ADA, MAT-CHDThai Pharm Health Sci J 2009;4(4):471-480§Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2009-10-09
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์