สมุนไพรพื้นบ้านแก้ไข้
Abstract
บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจสมุนไพรพื้นบ้านและตำรับยาพื้นบ้านในประเทศไทยที่มีฤทธิ์ลดไข้ วิธีการศึกษา: ศึกษาใน 8 จังหวัด คือ ชัยภูมิ น่านสุโขทัย เพชรบูรณ์ สุรินทร์ กระบี่ ยโสธร และอุบลราชธานี โดยสัมภาษณ์หมอพื้นบ้านเกี่ยวกับสมุนไพรที่ใช้ ชื่อพื้นเมือง ส่วนที่ใช้ ประโยชน์และวิธีใช้ พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างสมุนไพรจัดทำเป็นตัวอย่างพืชแห้ง ตรวจเอกลักษณ์พืชด้วยรูปวิธานและเปรียบเทียบตัวอย่างพืชที่พิพิธภัณฑ์พืชสิรินธรกรมวิชาการเกษตรและหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษา:รวบรวมพรรณไม้ที่ใช้แก้ไข้ได้ทั้งหมด 162 ชนิด จากพืชจำนวน 60 วงศ์ จำแนกเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ 46 วงศ์ (132 ชนิด) พืชใบเลี้ยงเดี่ยว 11 วงศ์ (26ชนิด) พืชเมล็ดเปลือย 1 วงศ์ (2 ชนิด) และเฟิร์น 2 วงศ์ (2 ชนิด) วงศ์ที่มีสมุนไพรแก้ไข้มากที่สุดคือ Leguminosae 22 ชนิด รองลงมาคือEuphorbiaceae 12 ชนิด Annonaceae 11 ชนิดและ Rubiaceae 10 ชนิด สกุลที่มีพืชสมุนไพรมากที่สุด 1 สกุล โดยมี 5 ชนิดคือ Diospyros สกุลละ3 ชนิดมี 3 สกุลคือ Alpinia, Flemingia, และ Senna และสกุลละ 2 ชนิด มี 15 สกุลได้แก่ Abrus, Antidesma, Clerodendum, Dendrobium,Desmodium, Dillenia, Ficus, Garcinea, Glochidion, Gnetum, Helicteres, Kaempferia, Memecylon, Thunbergia และ Uvaria และพบสมุนไพร64 ชนิดที่ใช้ในรูปยาตำรับ 25 ตำรับ และใช้เป็นยาเดี่ยว 106 ชนิด สรุป: การศึกษานี้ได้รวบรวมและพิสูจน์เอกลักษณ์ของสมุนไพรพื้นบ้านและตำรับยาพื้นบ้านที่มีฤทธิ์ลดไข้ ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ในการวิจัยและพัฒนาซึ่งอาจนำไปสู่เภสัชผลิตภัณฑ์ต่อไปคำสำคัญ: สมุนไพร, ตำรับยาพื้นบ้าน, ลดไข้Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2009-10-04
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์