หลักการใช้ยารักษาโรคเบาหวานในปัจจุบัน
Abstract
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มีอัตราความชุกเพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าในปี ค.ศ. 2025 อัตราความชุกจะเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมถึงร้อยละ 91 เป้าหมายในการรักษาโรคเบาหวานในปัจจุบัน คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยให้ระดับ HbA1c น้อยกว่า 7% หรือให้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด คือ มีระดับHbA1C น้อยกว่า 6% โดยไม่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ใกล้เคียงคนปกติมากที่สุดจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน แนวทางการรักษาในปัจจุบันแนะนำให้เริ่มด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกับการใช้ยาเมทฟอร์มิน เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดยังไม่อยู่ในช่วงเป้าหมายหรือสูงต่อเนื่องให้เพิ่มยาลดระดับน้ำตาลในเลือดกลุ่มใดก็ได้ 1 ชนิด แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก เช่น มี HbA1c มากกว่า 8% หรือมีระดับน้ำตาลในเลือดที่เวลาใดก็ตามมากกว่า 300 มก ./ดล. ควรให้อินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลางหรือยาว และในผู้ป่วยที่ได้รับยาลดระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชนิดแล้วยังไม่สามารถควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดได้ควรเริ่มให้อินซูลินเร็วขึ้น เพื่อคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมาย โดยควรหยุดยากลุ่มซัลโฟนิวยูเรียหรือกลุ่มกลิไนด์ เนื่องจากยาสองชนิดนี้ไม่ช่วยเสริมฤทธิ์อินซูลิน ยารักษาโรคเบาหวานมีหลายกลุ่มแบ่งตามการออกฤทธิ์ คือ1) ยาที่กระตุ้นตับอ่อน ให้หลั่งอินซูลิน เช่น ซัลโฟนิวยูเรีย และกลิไนด์ 2) ยาที่เพิ่มความไวของเซลล์ต่อการใช้อินซูลิน เช่น ไบกวาไนด์ ไธอะโซลิดีนไดโอน 3) ยาที่ มีฤทธิ์ลดการดูดซึมกลูโคสจากลำไส้เล็ก เช่น แอลฟา-กลูโคสิเดส อินฮิบิเตอร์ และ 4) อินซูลินชนิดฉีด และยังมียากลุ่มใหม่อีก 2 กลุ่มที่ ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของอเมริกา คือ จีแอลพี-1 (เช่น เอกซินาไทด์ รูปแบบฉีด) ซึ่งมีฤทธิ์ยั้บยั้งการหลั่งฮอร์โมนกลูคา กอนที่ผลิตกลูโคสในร่างกายและเพิ่มจำนวนเบต้าเซลที่ตับอ่อน และกลุ่มอไมลิน อะโกนิส(เช่น พรามลินไทด์รูปแบบฉีด) โดยออกฤทธิ์ ยับยั้งการสร้างกลูคากอน ยังไม่มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นชัดว่ายาชนิดใดดีกว่าชนิดใด ดังนั้นการเลือกใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดจึงขึ้นกับ ประสิทธิผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย ผลดีต่อการลดภาวะแทรกซ้อน อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ผู้ป่วยทนต่อยาได้ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงเกินไปคำสำคัญ: โรคเบาหวาน, เมทฟอร์มิน, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การใช้ยาDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2008-04-01
Issue
Section
Review Article - นิพนธ์ปริทัศน์
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์