สารให้ความหวาน: การใช้และความปลอดภัย
Abstract
สารให้ความหวานมี2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สารให้ความหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และสารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ โดยสารให้ความหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการจะให้พลังงาน ได้แก่ ซูโครส ฟรุกโตส กลูโคส และsugar alcohol ซึ่งหากบริโภคมากไปจะทำให้น้ำหนักเกิน โรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคเรื้อรังอื่น ๆ ส่วนสารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่างทางโภชนาการ เรียกว่าน้ำตาลเทียม มี5 ชนิดที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริการับรองให้ใช้ได้อย่างปลอดภัยและกระทรวงสาธารณสุขไทยก็อนุญาตให้ไช้ได้ คือ แอสพาร์แทม(aspartame) แซคคาริน (saccharin) อะซิซัลเฟม โพแทสเซียม (acesulfame potassium) ซูคราโลส (sucralose)และนีโอแทม(neotame) เนื่องจากสารกลุ่มนี้เป็นสารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงาน จึงสามารถใช้ทดแทนน้ำตาลเพื่อควบคุมพลังงานที่จะได้รับโดยไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นจึงใช้ได้ในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ผู้ป่วยโรคอ้วน และ/หรือผู้ป่วยโรคเบาหวาน แต่การใช้สารให้ความหวานกลุ่มนี้ ควรใช้ในปริมาณไม่เกินค่าacceptable daily intake levels (ADI) หรือปริมาณสูงสุดต่อวันที่สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัยโดยไม่เกิดอันตรายใด ๆ ต่อร่างกาย โดยค่าADI ของ aspartame, saccharin, acesulfame potassium, sucralose, และneotameเท่ากับ 40-50, 5, 15, 15 และ 2 มก./กก./วัน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ aspartame ในผู้ป่วย phenylketonuria เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้ขาดเอนไซม์ในการย่อยสาร phenylalanine ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ได้จากการย่อยสลาย aspartame ซึ่งจะทำให้เป็ อันตรายต่อสมอง คือ อาจทำให้เกิดmental retardation ได้คำสำคัญ: สารให้ความหวาน, น้ำตาลเทียม, แอสพาร์แทม, แซคคาริน, อะซิซัลเฟม โปแตสเซี่ยม, ซูคราโลส, นีโอแทม, ADI, phenylketonuriaDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2008-04-01
Issue
Section
Review Article - นิพนธ์ปริทัศน์
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์