ปัญหาและสภาพการนิเทศงานสาธารณสุขระดับจังหวัด:กรณีศึกษาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก

Authors

  • ธารณิศร์ ทวีทรัพย์

Abstract

การนิเทศงานเป็นงานสำคัญงานหนึ่งในกระบวนการติดตาม กำกับ ประเมินผลและร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการนิเทศงานสาธารณสุข และสภาพการณ์ของการนิเทศงาน เพื่อนำไปพัฒนาผู้นิเทศงานสาธารณสุขระดับจังหวัด ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก โดยการศึกษานี้ใช้หลักการวิเคราะห์องค์การ 7-S ของแมคคินซีย์ ในการวิเคราะห์สภาพการณ์และปัญหาการนิเทศงาน และแนวทางการพัฒนาผู้นิเทศงานสาธารณสุขระดับจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายกโดยรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้นิเทศงานสาธารณสุขระดับจังหวัด และผู้รับการนิเทศงานระดับ คปสอ. จำนวน 119 คน ได้แบบสอบถามกลับคืน 119 ฉบับ (ร้อยละ 100) ใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างโดย t-test ผลการวิจัย พบว่าสภาพการนิเทศงานสาธารณสุขระดับจังหวัด ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก ส่วนใหญ่มีการกำหนด นโยบายการนิเทศงาน การติดต่อสื่อสาร และการประสานงานเป็นแบบ2 ทาง ไม่ได้ออกนิเทศงานตามแผนทุกครั้ง เพราะมีงานมาก แบบการบริหารของผู้นิเทศงาน เป็นแบบเผด็จการแบบมีศิลป์ มีทักษะทั้ง3 ด้าน (เทคนิควิชาการ มนุษยสัมพันธ์ และความคิดรวบยอด) อยู่ในระดับปานกลาง ผู้นิเทศงานส่วนใหญ่ไม่ได้รับการอบรมด้านการนิเทศงาน ไม่พบค่านิยมร่วมที่เป็นรูปธรรมชัดเจน สำหรับแนวทางการพัฒนานั้น ผู้นิเทศงานกับผู้รับการนิเทศงาน มีความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาผู้นิเทศงานสาธารณสุขระดับจังหวัดที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.004) โดยผู้นิเทศงานมีความคิดเห็นว่า ควรพัฒนาให้ผู้นิเทศงานมีแผนงานประจำปี โดยต้องกำหนดเป้าหมาย การนิเทศงานอย่างชัดเจน ส่วนผู้รับการนิเทศงานมีความคิดเห็นว่าควรพัฒนาผู้นิเทศงาน ให้มีความสามารถในการสื่อความหมาย การประเมินผล และข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับผู้นิเทศงาน ให้มีการพัฒนาผู้นิเทศงานด้านมนุษยสัมพันธ์เทคนิคการนำเสนอ การสื่อความหมาย และพัฒนาการเป็นผู้นิเทศงานที่ดีและสมบูรณ์แบบ มีจริยธรรม และให้มีการพัฒนาศักยภาพของผู้นิเทศงานหนึ่งคนสามารถนิเทศงานได้หลายงานคำสำคัญ: การนิเทศงาน, สาธารณสุขจังหวัด

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2008-04-01