การศึกษาและเปรียบเทียบมูลค่า ราคาและปริมาณการจัดซื้อยา ด้วยวิธีการจัดซื้อแบบต่าง ๆ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลศูนย์
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบมูลค่าการจัดซื้อยาของแต่ละวิธีการจัดซื้อของโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง ศึกษาการเปลี่ยนแปลงมูลค่า ราคาและปริมาณยาที่โรงพยาบาลจัดซื้อ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิของโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลในช่วงปีงบประมาณ 2548 ถึง 2550 (1 ตุลาคม 2547 ถึง 30 กันยายน 2550) หน่วยที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ชนิดของยาคำสำคัญ : การจัดซื้อยา, การบริหารเวชภัณฑ์ที่มีความแตกต่างกันทั้งชนิดรายการ ความแรง รูปแบบของเวชภัณฑ์ บริษัทผู้ผลิตหรือผู้ขาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาของข้อมูลในแต่ละปีงบประมาณโดยใช้การนับจำนวนชนิดของยา และคำนวณมูลค่าการจัดซื้อรวมและแยกตามวิธีการจัดซื้อ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงมูลค่าการจัดซื้อยาระหว่างปีงบประมาณ 2548 กับ 2549 และระหว่างปี 2549 กับ 2550 โดยแยกกลุ่มยาเป็นตามความต่อเนื่อง ในการจัดซื้อ และวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงมูลค่าการซื้อ การเปลี่ยนแปลงราคาและการเปลี่ยนแปลงปริมาณการซื้อเฉลี่ยของแต่ละวิธีการจัดซื้อทั้งโดยค่าเฉลี่ยที่มีและไม่มีการถ่วงน้ำหนักผลการศึกษาพบว่ามูลค่าการจัดซื้อยาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้ง 3 ปีงบประมาณ จากประมาณ 226 ถึง 351 ล้านบาท จากจำนวนรายการยาประมาณปีละ 1,000 รายการ และจำนวนบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ขายประมาณ 90 บริษัท โดยในแต่ละปีจะมีจำนวนรายการหรือ สัดส่วนมูลค่าของแต่ละวิธีจัดซื้อที่แตกต่างกัน การจัดซื้อแบบกรณีพิเศษเป็นวิธีที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดทั้งในแง่จำนวนรายการยาและมูลค่าการจัดซื้อ ซึ่งหากพิจารณาใน2 ปีงบประมาณหลังของการศึกษาพบว่าสัดส่วนของมูลค่าการจัดซื้อยาด้วยวิธีสอบราคาก็ค่อนข้างคงที่ เช่นกัน ส่วนการจัดซื้อด้วยวิธีตกลงราคาจะมีสัดส่วนสูงสุดในทุกปี ในขณะที่การนำการประกวดราคามาใช้จัดซื้อมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน โดยอาจเป็นเพราะมีการนำการจัดซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ เมื่อพิจารณาตามลักษณะความต่อเนื่องในการซื้อยาแต่ละรายการ ในช่วงแรกของการศึกษา รายการยาที่มีการซื้ออย่างต่อเนื่องเป็นกลุ่มที่มีมูลค่าการจัดซื้อสูง โดยที่มูลค่าการซื้อยาใหม่ที่ไม่ได้ซื้อในปีแรกกับมูลค่าการซื้อยาที่ไม่ได้ซื้อในช่วงปีหลังของช่วงนี้มีมูลค่าใกล้เคียงกัน ส่วนในช่วงหลังของการศึกษาพบว่ามูลค่าของรายการยาใหม่ที่ไม่ได้ซื้อในปีแรกของช่วงนี้มีค่าสูงมาก เมื่อเทียบกับรายการยาที่ซื้อต่อเนื่องและรายการยาที่ซื้อเฉพาะในปีแรกของช่วงการศึกษานี้นอกจากนี้ การจัดซื้อยาด้วยวิธีการตกลงราคาเป็นวิธีที่ราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยสรุปโรงพยาบาลศูนย์แห่งนี้จัดซื้อยาด้วยวิธีการต่าง ๆ ในปริมาณที่แตกต่างกัน โดยการจัดซื้อด้วยวิธีกรณีพิเศษและการสอบราคาเป็นมูลค่าไม่มากนักเมื่อเทียบกับการวิธีตกลงราคา ในช่วงระยะเวลาที่ศึกษา โรงพยาบาลกำลังนำวิธีการจัดซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ทำให้การประกวดราคาลดบทบาทลง และมีความเป็นไปได้ว่าโรงพยาบาลมีการนำเอาการจัดซื้อวิธีพิเศษมาใช้เพื่อประคับประคองวิธีการจัดซื้อใหม่ที่โรงพยาบาลยังไม่คุ้นเคย การศึกษานี้สามารถเป็นตัวอย่างการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นสำหรับโรงพยาบาลต่าง ๆ นำไปใช้ในการวัดหรือติดตามการจัดซื้อยาอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2008-04-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์