ผลการตั้งครรภ์และการคลอดของวัยรุ่นในโรงพยาบาลสง่ เสรมิ สุขภาพ ศนู ยอ์ นามัยที่ 6
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการตั้งครรภ์และการคลอดของวัยรุ่นที่คลอดบุตรที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่6 ขอนแก่น เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังโดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในและทะเบียนคลอดของวัยรุ่นที่คลอดบุตรระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2550 – 31 ธันวาคม 2550 ศึกษาปัจจัยทางประชากรศาสตร์ ลักษณะทางสูติกรรม ภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม ผลด้านทารกแรก เกิดและภาวะแทรกซ้อนในทารกแรกเกิด นำเสนอผลการศึกษาโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และอัตราเสี่ยงสัมพัทธ์(relative risk; RR) พร้อมช่วงความเชื่อมั่นที่ระดับนัยสำคัญร้อยละ 95 (95% confidence interval; 95% CI) เทียบกับวัยผู้ใหญ่ ที่มาคลอดในช่วงเวลาเดียวกัน ผลการศึกษา พบว่าในช่วงเวลาที่ศึกษามีผู้คลอดบุตรทั้งสิ้น 2,095 ราย เป็นวัยรุ่น 368 ราย คิดเป็น อุบัติการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นร้อยละ17.6 อายุเมื่อตั้งครรภ์เฉลี่ย 17.2 ปี ส่วนใหญ่เป็นการตั้งครรภ์แรก (ร้อยละ 82.9) อายุครรภ์เฉลี่ย เมื่อคลอด38.6 สัปดาห์ ส่วนใหญ่มีอาชีพแม่บ้าน (ร้อยละ 53.5) และกำลังศึกษา (ร้อยละ 14.9) น้ำหนักทารกแรกเกิดเฉลี่ย 3,058 กรัม เมื่อ เทียบกับวัยผู้ใหญ่ พบว่าวัยรุ่นมีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง(RR = 1.63; 95% CI = 1.34 – 1.98) และการคลอดก่อน กำหนด (RR = 2.30; 95% CI = 1.70 – 3.11) แต่วัยรุ่นมีโอกาสเสี่ยงต่ำกว่าต่อการผ่าตัดคลอด (RR = 0.64; 95% CI = 0.50 – 0.82) ส่วน ภาวะอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน ซึ่งได้แก่ ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ภาวะผิดสัดส่วนของศีรษะทารกกับช่องเชิงกราน ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะน้ำเดินก่อนเจ็บครรภ์เป็นเวลานาน (prolonged premature rupture of membrane) ภาวะทารกขาดออกซิเจน ในครรภ์(fetal distress) ภาวะน้ำคร่ำมีขี้เทาเหนียวข้น ภาวะตกเลือดหลังคลอด ภาวะคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ภาวะทารกต้องการความช่วยเหลือแรกคลอด(คะแนน Apgar ที่ 1 นาที ≤ 7) และ ภาวะทารกแรกเกิดขาดออกซิเจนหลังคลอด (คะแนน Apgar ที่ 5 นาที ≤ 7) โดยสรุป การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางของแม่และการคลอดก่อนกำหนดมากกว่า ครรภ์ในวัยผู้ใหญ่ แต่โอกาสเสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอดลดลงคำสำคัญ : การตั้งครรภ์, วัยรุ่น, การคลอด, ภาวะแทรกซ้อนDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2008-04-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์