อัตราการรอดชวี ติ และปจั จยั เสยี่ งต่อการเสยี ชวีติของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมากในโรงพยาบาลนครนายก

Authors

  • ดวงกมล เจริญเกษมวิทย์

Abstract

การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเป็นแบบย้อนหลัง เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอก และเวชระเบียนผู้ป่วยใน รวมทั้งรวบรวมข้อมูลจากใบย่อคลอดของมารดา ของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมาก (≤ 1,500 กรัม) ที่คลอดในโรงพยาบาลนครนายก และที่ส่งตัวมาจากโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครนายกตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2547 ถึง 30 กันยายน 2550 มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาอัตรารอดชีวิตและปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเสียชีวิตในทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมาก(<1,500 กรัม) ในกลุ่มประชากรทั้งหมด 41 คน ผลการศึกษา พบว่า ทารกที่ศึกษามีทั้งหมด 41 ราย มีอัตราการรอดชีวิต 70.7% (29/41) ทารกน้ำหนักต่ำกว่า 1,000 กรัม มีอยู่ 2 ใน 8 ราย ที่มีชีวิตอยู่จนกระทั่งจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล สาเหตุการเสียชีวิต คือ respiratory distress syndrome (39.4%) necrotizing enterocolitis (8.3%) shock (8.3%),sepsis(41.7%) pneumothorax (8.3%) ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเสียชีวิตที่มีความสำคัญทางสถิติวิเคราะห์โดยใช้ multiple logistic regressionได้แก่ น้ำหนักน้อยกว่า 750 กรัม (OR = 2.17; 95%CI = 1.64 - 2.87) อายุครรภ์ £ 28สัปดาห์ ( OR = 2.19; 95% CI = 1.67 -2.88) คะแนน Apgar ที่ 1 นาที £ 5 (OR = 5.12; 95% CI = 2.31 - 13.45) คะแนน Apgar ที่ 5 นาที £ 5 (OR = 2.02; 95% CI = 1.09 -7.48) การส่งต่อมาจากโรงพยาบาลอื่น (OR = 2.51; 95% CI = 1.09 - 2.08) อุณหภูมิร่างกายแรกรับต่ำ (OR = 2.18; 95% CI = 1.51 -3.13) การมีเลือดออกก่อนคลอดในมารดา (OR = 3.80; 95% CI = 1.45 - 8.47) respiratory distress syndrome (OR =3.54; 95% CI =1.57 = 4.15) ละการใช้เครื่องช่วยหายใจ (OR = 2.12; 95% CI = 1.42 - 3.16) โดยสรุป อัตราการรอดชีวิตของทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อยมากในการศึกษานี้ต่ำกว่าการศึกษาบางแห่ง ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเสียชีวิตคือ น้ำหนักแรกคลอด, อายุครรภ์, Apgar score, การส่งต่อมาจากโรงพยาบาลอื่น, อุณหภูมิร่างกายแรกรับต่ำ, การมีเลือดออกก่อนคลอดในมารดา, ภาวะ respiratory distress syndrome และการใช้เครื่องช่วยหายใจKey Words: low birth weight, respiratory distress syndrome, death

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2008-03-01