ผลการใหค้ วามรู้แกผู่้ปว่ ยนอกที่ใช้ยาวารฟ์ าริน:กรณีศึกษาโรงพยาบาลนครปฐม

Authors

  • ชงโค นิสสัยดี
  • นงเยาว์ ซื่อเลื่อม

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ความรู้โดยเภสัชกรแก่ผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลนครปฐม เป็นการศึกษาเชิงสำรวจโดยรวบรวมข้อมูลจากการปฏิบัติงานประจำของเภสัชกรจากตัวอย่างผู้ป่วยนอกทุกรายทั้งรายเก่าและใหม่ที่ได้รับยาวาร์ฟารินระหว่างเดือนตุลาคม -ธันวาคม 2550 และจากการมาติดตามรักษาอีกหนึ่งครั้ง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบวัดความรู้และความร่วมมือในการรักษา ผู้วิจัยได้วัดความรู้ผู้ป่วยและความร่วมมือในการรักษาก่อนการให้ความรู้โดยเภสัชกร จากนั้นเภสัชกรให้ความรู้ในการติดตามรักษานัดถัดมา(1 - 2 เดือน) วัดความรู้ของผู้ป่วยและความร่วมมือในการรักษาอีกครั้ง เปรียบเทียบคะแนนความรู้ก่อนและหลังการให้ความรู้โดย Wilcoxon signed rank test ผลการวิจัยพบว่า มีผู้ป่วยทั้งหมด 107 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 56.1) อายุ 60 – 70 ปี (ร้อยละ 27.1) มีผู้ที่อ่านหนังสือไม่ได้ค่อนข้างมาก (ร้อยละ 21.5) มีประวัติเลือดออกร้อยละ 20.6 ประวัติลิ่มเลือดอุดตันร้อยละ 4.7 พบอันตรกิริยา ของยากับยาหรือกับอาหารถึงร้อยละ 60.75 ส่วนใหญ่ใช้ยาวาร์ฟารินเพราะมี mechanical valve replacement (ร้อยละ 32.7) ส่วนใหญ่ไม่มีโรคร่วม(ร้อยละ 52.3) ผลการให้ความรู้โดยเภสัชกร พบว่าหลังการให้ความรู้โดยเภสัชกร จำนวนผู้ป่วยที่เข้าใจในการใช้ยาวาร์ฟาริน เพิ่มขึ้นในทุกหัวข้อ และผู้ป่วยมีคะแนนความรู้โดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ(P < 0.001) ส่วนด้านความร่วมมือในการรักษา พบว่าผู้ป่วย ให้ความร่วมมือในการรักษามากขึ้น โดยก่อนให้ความรู้ ป่วยมีปัญหาไม่ร่วมมือในการรักษา (noncompliance) ร้อยละ 19.62 แล้วลดลงเป็น ร้อยละ 5.61 ไม่มาพบแพทย์ตรงตามวันนัดจากร้อยละ 2.80 เป็น 1.87 ใช้สมุนไพรจากร้อยละ 13.08 เป็น 1.87 ดื่มเหล้าจากร้อยละ 6.54 เป็น 3.74 สูบบุหรี่จากร้อยละ 5.61 เป็น 0.93 และซื้อยาใช้เองจากร้อยละ 7.48 เป็น 2.80 ส่วนการรับการรักษาจากสถานพยาบาลหลาย แห่งไม่เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ 0.93) โดยสรุป การให้ความรู้โดยเภสัชกรทำให้ผู้ป่วยมีความรู้และเข้าใจการใช้ยาและการปฏิบัติตัวเพิ่มขึ้น และพัฒนาความร่วมมือในการรักษาคำสำคัญ: วาร์ฟาริน, warfarin, ความรู้, การปฏิบัติตัว, ความร่วมมือในการรักษา, ปัญหา

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2008-04-01