การศึกษาความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาระบายของผู้มารับบริการ ที่สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนโอสถศาลา
Abstract
การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนานี้เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาระบายของผู้รับบริการ ณ สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนโอสถศาลา ในวันจันทร์ถึงศุกร์ (9.00 - 18.30 น.) ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม ถึงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549 ใช้วิธี สัมภาษณ์โดยใช้ แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้น คำถามประกอบด้วยความรู้ความเข้าใจและหลักสำคัญในการใช้ยาระบาย ได้แก่ ความรู้เรื่องข้อบ่งใช้ ความจำเป็นในการใช้ยาระบาย การใช้ยาผิดวัตถุประสงค์ ข้อห้ามใช้ การทำความเข้าใจกับฉลาก ระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ยา ผลเสียของการใช้ยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน และอาการข้างเคียง ผลการศึกษาพบว่า ในตัวอย่างผู้รับบริการ 28 รายที่ได้รับยาระบาย ผู้รับบริการส่วนใหญ่มี ความรู้ในการใช้ยาระบายในระดับปานกลาง (18 รายหรือร้อยละ 64.3) ตามด้วยระดับต่ำ (6 รายหรือร้อยละ 21.4) พฤติกรรมที่อาจเป็น สาเหตุของอาการท้องผูกที่พบสูงสุด คือ การไม่ออกกำลังกาย (ร้อยละ 92.9) รองลงมาเป็นการกลั้นอุจจาระ (ร้อยละ 64.3) นอกจากนี้ พบว่า ยาระบายที่มีผู้ใช้มากที่สุด คือ senna (18 ราย หรือร้อยละ 64.3) และผู้ใช้ยาระบายส่วนใหญ่ (ร้อยละ 60.7) ใช้ยาติดต่อกันโดยเฉลี่ย น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 วัน และไม่มีปัญหาในการใช้ยาระบาย จากการศึกษาดังกล่าว สรุปได้ว่าผู้รับบริการส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ความ เข้าใจในการใช้ยาระบายอย่างถูกต้อง ดังนั้นเภสัชกรควรมีบทบาทในการให้คำแนะนำการใช้ยาระบายแก่ผู้รับบริการเพื่อให้เกิดการใช้ยา อย่างถูกต้องและปลอดภัยคำสำคัญ: ยาระบาย, ท้องผูก, ความรู้ความเข้าใจ, สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์