การเปรียบเทียบความเป็นพิษต่อไตและภาวะระดับโพแทสเซียม ในเลือดต่ำจากการบริหารยาแอมโฟเทอริซิน บี แบบวันเว้นวัน กับแบบทุกวัน ในผปู้ ่วยโรคเย่อื สมองอกั เสบคริปโตคอคคัส
Abstract
การรักษา cryptococcal meningitis ในผู้ป่วยเอดส์ โดยการใช้ยา amphotericin B มี 2 รูปแบบ คือ การบริหารยาติดต่อกันทุกวัน เป็นเวลา 14 วัน หรือ บริหารแบบวันเว้นวัน เป็นเวลา 7 วัน ในช่วงเวลา 14 วัน การศึกษาแบบย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ คือ ความเป็นพิษต่อไต และภาวะระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ในผู้ป่วยเอดส์ที่เป็น cryptococcal meningitis ที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลตราด ในช่วงปี 2549 ถึง 2550 โดยภาวะไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure) หมายถึง การลดลงของglomerular filtration rate (GFR) มากกว่าร้อยละ 30 จากค่าพื้นฐานก่อนการเริ่มบริหารยา ณ 7 วันหลังเริ่มให้ยา และภาวะไตวายเฉียบพลันแบบรุนแรง (severe acute renal failure) หมายถึง GFR ลดลงมากกว่าร้อยละ 50 จากค่าพื้นฐาน และการเกิดภาวะระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (ระดับโพแทสเซียมน้อยกว่า 3.5 mEq/L หรือการลดลงมากกว่า 0.5 mEq/L จากค่าพื้นฐาน) ที่ 7 วันหลังเริ่มรักษาการศึกษาทำโดยการตรวจสอบข้อมูลในระเบียนบันทึกการรักษาผู้ป่วยย้อนหลัง ผลการศึกษา ในผู้ป่วยที่ได้รับยาแบบทุกวัน 19 ราย และแบบวันเว้นวัน 7 ราย พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยาแบบทุกวันและแบบวันเว้นวันมีภาวะไตวายเฉียบพลันในอัตราไม่แตกต่างกัน คือ 10 ราย(ร้อยละ 52.6) และ 4 ราย (ร้อยละ 57.1) ตามลำดับ และการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันแบบรุนแรงก็ไม่แตกต่างกันเช่นกัน (5 ราย หรือร้อยละ 26.3 และ 1 ราย หรือร้อยละ 14.3 ตามลำดับ) นอกจากนี้ พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาแบบทุกวันเกิดระดับภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ 14 ราย (ร้อยละ 73.7) ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาแบบวันเว้นวัน (6 ราย หรือร้อยละ 85.7) แต่ไม่แตกต่างทางสถิติ โดยสรุป ความเป็นพิษแบบเฉียบพลันของไตและผลต่อการเกิดภาวะระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำในผู้ป่วยที่ได้รับยา amphotericin B เพื่อรักษา cryptococcalmeningitis ในผู้ป่วยเอดส์ ไม่แตกต่างกัน แต่ควรยืนยันด้วยการศึกษาแบบไปข้างหน้าที่มีตัวอย่างมากขึ้นDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2008-04-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์