บทวิเคราะห์ปัญหาและโอกาสในการพัฒนา
Abstract
ในปี พ.ศ. 2550 – 2551 กระทรวงสาธาณสุขได้ประกาศนโยบายความปลอดภัยของผู้ป่วยระดับชาติ ซึ่งมีมาตรการความปลอดภัยด้านยา เป็นหนึ่งในนโยบาย มาตรการความปลอดภัยด้านยามีเป้าหมายเพื่อรณรงค์และจัดการระบบยา 4 ประการ คือ 1) การลดความคลาดเคลื่อนทางยา 2) การป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา 3) การลดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง/การแพ้ยาซ้ำ และ 4) การพัฒนาระบบรวบรวมและจัดการความรู้ของกรณีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทางยาและเหตุการณ์พึงสังวร และการพัฒนาเครือข่ายโรงพยาบาล“ยาปลอดภัย ผู้ป่วยปลอดภัย” ซึ่งการนำการจัดการระบบยาในโรงพยาบาลมาใช้บริหารจัดการจะช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายทั้ง 4 ประการของนโยบายได้ การจัดการระบบยาในโรงพยาบาล ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) การคัดเลือกและจัดหายา 2) การเก็บรักษายา 3) การสั่งใช้ยาซึ่งรวมถึงการคัดลอกคำสั่งการใช้ยา 4) การเตรียมยาและกระจายยา 5) การให้ยา และ 6) การติดตามผลการใช้ยา การวิจัยที่ ผ่านมาชี้แนะว่า การลดความคลาดเคลื่อนทางยาและป้องกันความเสี่ยงจากการใช้ยาสามารถดำเนินการได้ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกและจัดหายา ไปจนถึงการให้ยาและการติดตามผลการใช้ยา ส่วนการลดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง/การแพ้ยาซ้ำ สามารถดำเนินการได้ในขั้นตอนการเก็บรักษายา การสั่งใช้ยา การเตรียมยาและการกระจายยา การให้ยาและติดตามผลการใช้ยา ทั้งนี้การจัดระบบยาที่ดีในโรงพยาบาลจะสามารถนำมาพัฒนาระบบยาและจัดการความรู้ เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทางยาและเหตุการณ์พึงสังวร และนำมาพัฒนาเครือข่ายโรงพยาบาล “ยาปลอดภัย ผู้ป่วยปลอดภัย” ได้ นอกจากนี้การพัฒนาระบบยาที่ดีควรทำงานเป็นทีมแบบสหสาขาวิชาชีพโดยเภสัชกรเป็นผู้มีบทบาทหลักในทีมเพื่อขับเคลื่อนระบบให้ดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องคำสำคัญ: การจัดการระบบยา, ความปลอดภัยด้านยา, ความคลาดเคลื่อนทางยาThai PharmDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2009-03-01
Issue
Section
Review Article - นิพนธ์ปริทัศน์
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์