ผลการรักษาความดันโลหิตสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน JNC VII ในผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 60 ปีและตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

Authors

  • นภาพร ลิมป์ปิยากร

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 60 ปี กับผู้ป่วยที่อายุ 60 ปีขึ้นไป วิธีการศึกษา: ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง โดยกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทุกรายที่เป็นความดันโลหิตสูงมาไม่ต่ำกว่า 3 ปี และรับการรักษาที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าไม่ต่ำกว่า 3 ปี เป็นผู้มารับการตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพระนั่งเกล้าในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคม 2551 ทั้งหมด ยกเว้นผู้ป่วยที่มีเบาหวานและมีระดับ serum creatinine > 1.5 mg/dL รวมเป็น 145 ราย เก็บข้อมูลจากเวชทะเบียนย้อนหลัง 3 ปี เปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาโดยพิจารณาค่าความดันโลหิตซิสโตลิก (SBP) และไดแอสโตลิก (DBP) ณ ครั้งสุดท้ายของปี 2551 (เป็นค่าที่วัดได้ที่ปีที่สาม) และครั้งของปี 2549 (ค่าที่วัดได้ที่ปีที่หนึ่ง) โดยใช้เกณฑ์ของ JNC VII คือ SBP < 140 มม.ปรอท และ DBP < 90 มม.ปรอท การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและอนุมาน ผลการศึกษา: ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี 53 รายกับผู้ป่วยที่อายุ 60 ปีขึ้นไป 92 รายพบว่า ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี มีค่า SBP ที่ปีที่หนึ่งเท่ากับ 132.1 มม.ปรอท และลดลงเป็น 129.1 มม. ปรอทที่ปีที่สามอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) โดยอัตราผู้ที่บรรลุ SBP เป้าหมายเพิ่มจากร้อยละ 79.2 เป็น 84.9 ส่วนผู้ป่วยที่อายุ 60 ปีขึ้นไปมีค่า SBP ที่ปีที่หนึ่งเท่ากับ 140.0 มม.ปรอท แล้วลดลงเป็น 134.9 มม.ปรอทที่ปีที่สามอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) และมีอัตราผู้บรรลุ SBP เป้าหมายเพิ่มจากร้อยละ 62.0 เป็น 70.7 โดยที่ปีที่หนึ่งผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปีมีอัตราการบรรลุเป้าหมายมากกว่าผู้ป่วยสูงอายุ (P < 0.05) เมื่อผ่านไปสามปี อัตราผู้ป่วยบรรลุเป้าหมายทั้งสองกลุ่มเพิ่มขึ้น (จากร้อยละ 79.2 เป็น 84.9 ในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี และจากร้อยละ 62.0 เป็น 70.7 ในผู้ป่วย 60 ปีขึ้นไป) โดยอัตราผู้บรรลุเป้าหมายที่ปีที่สามระหว่างสองกลุ่มไม่แตกต่างกันทางสถิติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ใช้ยา 2 ชนิด ยกเว้นผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ไม่บรรลุเป้าหมายส่วนใหญ่ใช้ยา 3 ชนิด และยาที่ผู้ป่วยใช้มากที่สุดคือ calcium channel blocker สรุป: ค่าเฉลี่ย SBP ของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มที่มาพบแพทย์ในปีที่หนึ่งกับปีที่สามระหว่างผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี กับผู้ที่อายุ 60 ปี ขึ้นไปแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และอัตราผู้ป่วยที่บรรลุเป้าหมายทั้งสองกลุ่มก็ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในปีที่หนึ่ง เมื่อสิ้นสุดการศึกษาอัตราผู้ป่วยที่บรรลุเป้าหมายในทั้งสองกลุ่มเพิ่มขึ้น โดยผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี มีอัตราการบรรลุเป้าหมายมากกว่ากลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 14.2 แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติคำสำคัญ: ความดันโลหิตสูง, ประสิทธิผล, JNC VII__

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2009-03-01