การประยุกต์ใช้เคมิคัลโซลเวตในทางเภสัชกรรม

Authors

  • วันชัย จงเจริญ
  • วีระเกียรติ บุญกนกวงศ์
  • นฤพร สุตัณฑวิบูลย์

Abstract

สารประกอบทางเคมีประเภทที่เรียกว่า โซลเวต (solvate) หมายถึง สารเคมีที่มีโครงสร้างที่เกิดจากการรวมกันระหว่างสารเคมีหลักกับโมเลกุลของตัวทำละลาย (solvent) ซึ่งมีอัตราส่วนโดยจำนวนต่อกันที่แน่นอนตามปริมาณสัมพันธ์ (stoichiometry) ในกรณีที่โมเลกุลของตัวทำละลายนั้นเป็นน้ำซึ่งถูกจับอยู่ในโครงสร้างของสารจะเรียกสารประกอบนั้นว่า ไฮเดรต (hydrate) โดยทั่วไปโซลเวตหรือไฮเดรตจะมีสมบัติทางเคมีกายภาพแตกต่างไปจากสารนั้นในรูปไม่มีตัวทำละลาย คุณสมบัติดังกล่าว เช่น สภาพไหลได้ สมบัติในการยึดเกาะ ความสามารถตอกอัดได้ สภาพละลายได้ เสถียรภาพทางกายภาพและทางเคมี เป็นต้น ด้วยเหตุผลข้างต้นจึงมีการศึกษาวิจัยเพื่อนำเอาประโยชน์ที่เหนือกว่าของโซลเวตมาใช้ทางเภสัชกรรม โดยเฉพาะเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติต่าง ๆ ของผลึกหรืออนุภาคของสารเคมี นอกจากนี้ ภาวะของสารเคมีที่เกิดเป็นโซลเวตชนิดที่ไม่เป็นไปตามปริมาณสัมพันธ์ (nonstoichiometric solvate) ก็มีประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ทางเภสัชกรรมและทางเคมีเช่นกันคำสำคัญ: โซลเวต, ไฮเดรต, ภาวะพหุสัณฐานเทียม, การลดขนาดอนุภาค, สมบัติทางเคมีกายภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads