ความพึงพอใจของนักศึกษาเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยสยาม ต่อการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ วิธีการศึกษา: จัดทำรายวิชา clinical biochemistry แบบบูรณาการ โดยสอดแทรกเนื้อหาวิชา skill of thinking, physiology, anatomy, pharmacognosy และ microbiology และจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานศึกษา โดยใช้กรณีศึกษา 10 กรณี ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาหลังการเรียนการสอน ผลการศึกษา: มีประชากรนักศึกษาเภสัชศาสตร์ในการศึกษาครั้งนี้จำนวน 29 คน ที่สามารถลงทะเบียนเรียนรายวิชา clinical biochemistry ได้ ในจำนวนนี้เป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ปีที่ 2 จำนวน 25 คน และนักศึกษาเภสัชศาสตร์ปีที่ 1 จำนวน 4 คน พบว่าโดยรวมแล้วนักศึกษาพึงพอใจการเรียนการสอนแบบบูรณาการในระดับมากที่สุด-ปานกลาง ประเด็นที่นักศึกษาส่วนใหญ่ (ร้อยละ 72.4) พึงพอใจมากที่สุดคือ การนำข้อมูลต่าง ๆ มาประมวลผลและใช้ในกระบวนความคิด และอาจารย์ผู้สอนมีส่วนร่วมในการอภิปรายทำให้เกิดประโยชน์ สรุป: การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการทำให้นิสิตมีความพึงพอใจในการเรียนรู้ สมควรสนับสนุนให้มีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการให้ครอบคลุมรายวิชาต่าง ๆ มากขึ้นคำสำคัญ: ความพึงพอใจ, การเรียนการสอนแบบบูรณาการDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์