แนวทางการพัฒนาเพื่อเป็นองค์กรสมรรถนะสูง:กรณีศึกษาคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract
หลักการและเหตุผล: การศึกษาเภสัชศาสตร์ในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลา 90 กว่าปีที่ผ่านมา การพัฒนาคณะเภสัชศาสตร์มีความสำคัญเนื่องจากมีหลายปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการศึกษาเภสัชศาสตร์ ดังนั้นคณะเภสัชศาสตร์ควรเตรียมการพัฒนาคณะให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูงเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่มีผลในอนาคต วัตถุประสงค์: การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ศึกษาแนวทางการพัฒนาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อเป็นองค์กรสมรรถนะสูง และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคณะเภสัชศาสตร์อื่นในประเทศไทย วิธีการศึกษา: ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกและการระดมสมองโดยใช้เทคนิคกลุ่มสนใจการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การวิเคราะห์ความสอดคล้องและความต่อเนื่อง ผลการศึกษา: องค์ประกอบที่สำคัญขององค์กรสมรรถนะสูง คือ ความต่อเนื่อง ความโดดเด่น ความยั่งยืน ความเหนือกว่าและการมีอัตลักษณ์ อัตลักษณ์ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรคือมีความโดดเด่นในด้านเทคโนโลยีเภสัชกรรมที่เน้นไปทางสมุนไพร และ/หรือด้านคุ้มครองผู้บริโภค และ/หรือด้านสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ แต่อัตลักษณ์ที่เป็นไปได้มากที่สุดคือมีความโดดเด่นในด้านเทคโนโลยีเภสัชกรรมที่เน้นไปทางสมุนไพร ส่วนอัตลักษณ์อื่นสามารถพัฒนาได้เนื่องจากใช้หลักการในการพัฒนาเหมือนกันแบบจำลองแนวทางการพัฒนาคณะไปเป็นองค์กรสมรรถนะสูงประกอบด้วย 6 ส่วนใหญ่ คือวิสัยทัศน์ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ หลักการพัฒนา มาตรการหลักและเทคนิควิธีการ สรุป: แนวทางการพัฒนาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรควรเริ่มต้นด้วยการพัฒนาให้มีอัตลักษณ์ของตนเอง พร้อมทั้งสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพและโดดเด่น เหนือกว่าคณะเภสัชศาสตร์ และการพัฒนาต้องทำอย่างต่อเนื่องมีมาตรฐาน และมีเครือข่ายเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูงคำสำคัญ: การพัฒนา, คณะเภสัชศาสตร์, องค์กรสมรรถนะสูง, อัตลักษณ์Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2010-01-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์