การพัฒนาอุปกรณ์พยุงน้ำหนักสำหรับฝึกเดินที่สามารถปรับความกว้างได้
Abstract
หลักการและเหตุผล: การฝึกให้ผู้ป่วยทางระบบประสาทเดินโดยมีการช่วยพยุงน้ำหนักของผู้ป่วยในขณะเดินบนลู่เดินทำให้การเดินของผู้ป่วยดีขึ้น แต่การใช้อุปกรณ์พยุงน้ำหนักสำหรับฝึกเดินในประเทศไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลาย เนื่องจากมีราคาแพงและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อีกทั้งความกว้างของอุปกรณ์พยุงน้ำหนักที่กำหนดไว้อย่างแน่นอน ทำให้ใช้ได้กับลู่เดินเพียงบางรุ่นเท่านั้น วัตถุประสงค์: เพื่อประดิษฐ์อุปกรณ์พยุงน้ำหนักสำหรับฝึกเดินที่ถอดประกอบและปรับความกว้างได้ สามารถพยุงน้ำหนักได้ 1 - 40 กก. วิธีการศึกษา: ประดิษฐ์อุปกรณ์พยุงน้ำหนักที่สามารถถอดประกอบได้ จากนั้นทดสอบความแม่นยำในการยกน้ำหนักของเครื่อง โดยเปรียบเทียบกับตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน ตั้งแต่ 1 - 40 กก. และเทียบกับอุปกรณ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ (Biodex®) โดยยกน้ำหนักขณะยืน30% ของน้ำหนักตัว ในคนสุขภาพดี 15 คน ที่มีน้ำหนักอยู่ในช่วง 40 - 120 กก. โดยเปรียบเทียบน้ำหนักที่ยกได้และน้ำหนักที่เหลือบนเครื่องชั่งน้ำหนัก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแบบ intraclass correlation และทดสอบความคงที่ในการพยุงน้ำหนักขณะฝึกเดิน ในคนสุขภาพดีจำนวน 7 คน ขณะเดินบนลู่เดินและใช้อุปกรณ์พยุงน้ำหนักทั้ง 2 ประเภท โดยบันทึกค่าน้ำหนักที่ยกขึ้นขณะเดินทุก ๆ 5 นาที แล้วนำมาทดสอบทางสถิติด้วย 2-way repeated measures ANOVA ผลการศึกษา: ผลการทดสอบความแม่นยำในการพยุงน้ำหนักกับน้ำหนักมาตรฐาน พบความคลาดเคลื่อนจากน้ำหนักมาตรฐานคิดเป็น 2% ของน้ำหนักมาตรฐานผลการทดสอบความแม่นยำในการพยุงน้ำหนักโดยเทียบกับอุปกรณ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ พบว่ามีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(r = 0.993) และผลการทดสอบความคงที่ในการพยุงน้ำหนักของอุปกรณ์พยุงน้ำหนักขณะเดินในแต่ละช่วงเวลา ระหว่างอุปกรณ์พยุงน้ำหนักที่นำเข้าจากต่างประเทศ และอุปกรณ์พยุงน้ำหนักที่ประดิษฐ์ขึ้น พบว่าทั้ง 2 อุปกรณ์มีความคงที่ในการพยุงน้ำหนักตลอดช่วงเวลา 20 นาที ขณะเดินบนลู่เดินเทียบเท่ากันสรุป: อุปกรณ์พยุงน้ำหนักที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่นั้น มีโครงสร้างที่สามารถถอดประกอบได้ง่าย การขนย้ายสะดวก สามารถประกอบเข้ากับลู่เดินส่วนใหญ่ที่ใช้ภายในศูนย์ฟื้นฟูภายในประเทศไทย และมีความแม่นยำในการพยุงน้ำหนักเทียบเท่ากับอุปกรณ์พยุงน้ำหนักที่นำเข้าจากต่างประเทศคำสำคัญ: body weight support, adjustable BWS, gait rehabilitation, treadmill, gait training__Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2010-01-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์