ผลการให้ความรู้และฝึกทักษะบุคลากรร้านยาในการค้นหาและส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการน่าสงสัยเป็นวัณโรค
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการให้ความรู้และฝึกทักษะบุคลากรร้านยาในการค้นหาและส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการน่าสงสัยเป็นวัณโรคและประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการให้ความรู้ วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างร้านยาในจังหวัดสงขลา ทั้งประเภทแผนปัจจุบันและแผนบรรจุเสร็จ จำนวน 36 ร้าน รูปแบบของการอบรมเป็นการให้ความรู้แบบเผชิญหน้า (face-to-face educational outreach) และการฝึกทักษะโดยใช้บทบาทสมมุติสาธิตและฝึกปฏิบัติ (role-play demonstration and practicing) โดยผู้วิจัยทำการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรร้านยาที่ร้านแล้วประเมินผลความรู้ ทักษะและความพึงพอใจ หลังการฝึกอบรม 1 เดือน ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้รวมหลังการฝึกอบรมมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 5.5 คะแนน เป็น 8.0 คะแนน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ผลการฝึกทักษะพบว่า บุคลากรร้านยาร้อยละ 94 สามารถคัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการน่าสงสัยเป็นวัณโรคด้วยคำถามหลัก ประเมินและส่งต่อได้ถูกต้อง ผลการประเมินความพึงพอใจต่อวิธีการอบรมให้ความรู้และคู่มือ พบว่าโดยส่วนใหญ่มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี สรุป: การอบรมให้ความรู้แบบเผชิญหน้าที่ร้านยาซึ่งเป็นสถานปฏิบัติการร่วมกับการฝึกทักษะโดยใช้บทบาทสมมุติ ทำให้บุคลากรร้านยามีความรู้ในเรื่องวัณโรคเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะความรู้ส่วนสำคัญต่อการปฏิบัติงานที่ขาดอยู่ได้ ร้านยามีทักษะในการค้นหาและส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการน่าสงสัยเป็นวัณโรค วิธีการให้ความรู้ดังกล่าวจึงสามารถนำไปใช้พัฒนาร้านยาให้มีบทบาทในการค้นหาผู้ป่วยและสามารถดำเนินงานเป็นเครือข่ายร่วมกับโรงพยาบาลเพื่อการควบคุมวัณโรคในพื้นที่ต่อไปคำสำคัญ: เภสัชกรชุมชน, การส่งต่อ, ความรู้, ทักษะ, บุคลากรร้านยา, ผู้ป่วยที่มีอาการน่าสงสัยเป็นวัณโรคDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2010-01-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์