ผลลัพธ์ทางคลินิกและคุณภาพชีวิตของการบริบาลทางเภสัชกรรม ก่อนพบแพทย์ในคลินิกโรคหืด
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลของการให้บริบาลทางเภสัชกรรมก่อนพบแพทย์ในด้านผลลัพธ์ทางคลินิก (ได้แก่ สมรรถภาพปอด ระดับการควบคุมโรค การเข้ารับรักษาในห้องฉุกเฉินและการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล) และผลลัพธ์ด้านคุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยนอกโรคหืดที่มารับบริการที่คลินิกโรคหืด โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า วิธีการศึกษา: แบ่งผู้ป่วยทั้งหมด 70 คนโดยวิธีสุ่ม ออกเป็นกลุ่มศึกษาที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมและกลุ่มควบคุม กลุ่มศึกษาจะได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมก่อนพบแพทย์ทั้งหมด 2 ครั้ง โดยแต่ละครั้งห่างกัน 2 เดือน กลุ่มควบคุมไม่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม ผลลัพธ์จะประเมินหลังจากผู้ป่วยพบเภสัชกรในครั้งที่ 2 แล้วเป็นเวลา 2 เดือน วัดคุณภาพชีวิตโดยแบบวัดคุณภาพชีวิต MiniAQLQ ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยในแต่ละกลุ่มคือ 35 คน ผลลัพธ์ทางคลินิกของกลุ่มที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ จากค่า peak expiratory flow rate (PEFR) (323.4 ± 67.9 และ 282.7 ±97.3 ลิตร/นาทีตามลำดับ, P = 0.046) และค่าร้อยละของค่ามาตรฐาน (% predicted PEFR) (ร้อยละ 81.5 ± 20.2% และ 71.9 ± 16.4% ตามลำดับ, P = 0.034)อย่างไรก็ตาม สัดส่วนของจำนวนผู้ป่วยในแต่ละระดับของการควบคุมโรคหืดของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ถึงแม้ว่าจำนวนของผู้ป่วยที่มีระดับการควบคุมโรคอยู่ในระดับควบคุมได้ (controlled) ในกลุ่มที่ศึกษาจะมากกว่ากลุ่มควบคุม การเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินและการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน คะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมของกลุ่มศึกษาดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (5.6 ± 1.0 และ 5.1 ± 0.9 คะแนน ตามลำดับ, P = 0.048) สรุป:การให้การบริบาลทางเภสัชกรรมก่อนพบแพทย์ในคลินิกโรคหืดของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้าส่งผลดีต่อผู้ป่วยทั้งด้านผลลัพธ์ทางคลินิกและคุณภาพชีวิตคำสำคัญ: การบริบาลทางเภสัชกรรม, โรคหืด, ผลลัพธ์ทางคลินิก, คุณภาพชีวิต, MiniAQLQDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2010-01-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์