การสำรวจข้อมูลการบริโภคพืชสกุลส้มและสมุนไพร ในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไต
Abstract
หลักการและเหตุผล: ผลไม้สกุลส้ม (citrus) เป็นสายพันธุ์เดียวกับ grapefruit ซึ่งมีรายงานอันตรกริยาระหว่างยากดภูมิค้มกันที่ผู้ป่วยได้รับหลังการปลูกถ่ายไต ดังนั้นการบริโภคผลไม้สกุลส้มจึงอาจเกิดอันตรกิริยากับยากดภูมิคุ้มกันและกระทบต่อ graft survival ข้อมูลเบื้องต้นของการบริโภคผลไม้สกุลส้มในผู้ป่วยเหล่านี้ จะช่วยชี้แนะถึงความจำเป็นในการศึกษาในอนาคตเกี่ยวกับขนาดปัญหาอันตรกิริยาระหว่างพืชสกุลส้มกับยากดภูมิคุ้มกัน วัตถุประสงค์: เพื่อรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นของการบริโภคพืชสกุลส้มและสมุนไพร ในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไต วิธีการศึกษา: ศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก จำนวน 18 ราย โดยใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษา: พบว่าผู้เข้าร่วมการศึกษา 12 ราย (ร้อยละ 66.7) เคยบริโภคพืชสกุลส้มหลังจากปลูกถ่ายไต โดยที่ 9 ราย (ร้อยละ 50) บริโภคในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ชนิดพืชสกุลส้มที่บริโภคมากที่สุด คือ ส้มโอ โดยมีผู้บริโภคในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาถึง 7 ราย (ร้อยละ 38.9) ปริมาณความถี่ในการบริโภคอยู่ในช่วงตั้งแต่ประมาณ ¼ กลีบต่อสัปดาห์ จนถึง 6 กลีบต่อสัปดาห์ และยังพบว่ามีผู้ป่วยบริโภคพืชสกุลส้มชนิดอื่น เช่น ส้มเขียวหวาน ส้มเช้ง ผลิตภัณฑ์น้ำส้ม และน้ำมะนาวอีกด้วย แต่พบผู้ป่วยเพียง 1 ราย (ร้อยละ 5.6) ที่บริโภคสมุนไพรอื่น สรุป: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยปลูกถ่ายไตที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันมีพฤติกรรมการบริโภคพืชสกุลส้มและสมุนไพรที่หลากหลาย ซึ่งพืชและสมุนไพรเหล่านี้อาจส่งผลต่อระดับยากดภูมิคุ้มกันได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาถึงผลของการบริโภคพืชสกุลส้มต่อระดับยาในเลือดในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตต่อไปคำสำคัญ: พืชสกุลส้ม, สมุนไพร, ยากดภูมิคุ้มกันDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2010-01-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์