การออกแบบโพรดรักเพื่อนำส่งยาสู่เป้าหมาย
Abstract
การออกแบบโพรดรัก หรือ prodrug เดิมมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสมของตัวยา เช่น การละลายน้ำ อัตราสารเข้าทางชีวภาพ ความคงตัวความเป็นพิษ เป็นต้น ทั้งนี้ ตัวยายังสามารถกระจายไปออกฤทธิ์ได้ทั่วร่างกายโดยไม่เฉพาะเจาะจง ปัจจุบันมีการออกแบบให้สามารถนำส่งตัวยาไปยังบริเวณที่ต้องการให้ยาออกฤทธิ์ เรียกว่า targeted prodrug ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น การใช้ตัวพา (carrier) เพื่อให้ prodrug เข้าไปยังเนื้อเยื่อเป้าหมายได้เอง (passive enrichment in the target tissue) การใช้ตัวพาที่เฉพาะเจาะจง (targeting specific transporter) การใช้ prodrug ที่มีความเฉพาะต่อแอนติเจนที่ผิวนอก(targeting surface antigen) การใช้เอนไซม์ในเนื้อเยื่อหรือเซลล์ที่มีความเฉพาะในการกระตุ้นให้เกิด bioreversibility ของ prodrug (tissue or cell-specific enzyme) นอกจากนี้ ยังมีการนำส่งเอนไซม์จากภายนอกไปยังบริเวณที่ต้องการให้ยาออกฤทธิ์ที่เรียกว่า antibody-directed enzyme prodrug therapy (ADEPT)และ gene-directed enzyme prodrug therapy (GDEPT)คำสำคัญ: การนำยาสู่เป้าหมาย, targeted prodrug, ADEPT, GDEPT, VDEPTDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2010-07-01
Issue
Section
Review Article - นิพนธ์ปริทัศน์
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์