การใช้เครื่องสำอางทาฝ้าทำให้หน้าขาวของวัยรุ่น: กรณีศึกษาอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
Abstract
บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการใช้เครื่องสำอางทาฝ้าและเครื่องสำอางทำให้หน้าขาวของวัยรุ่น และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องสำอางดังกล่าวของวัยรุ่น ในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงสำรวจใช้ตัวอย่าง 400 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและประกาศนียบัตรวิชาชีพ เขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ใช้แบบสอบถามถามเกี่ยวกับประสบการณ์การใช้เครื่องสำอางทาฝ้า/ทำให้หน้าขาว แหล่งข้อมูล/ความรู้ และการประสบปัญหาจากการใช้เครื่องสำอาง ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 58.4) มีอายุเฉลี่ย 16.3 ปี ได้รับข่าวสารหรือโฆษณาเครื่องสำอางจากโทรทัศน์และจากเพื่อน (ร้อยละ 22.7 และ 16.9 ตามลำดับ) ส่วนความรู้นั้นส่วนใหญ่ได้รับจากโทรทัศน์และจากเพื่อน (ร้อยละ 19.7 และ 18.4 ตามลำดับ) และส่วนมากมีประสบการณ์การใช้เครื่องสำอาง (ร้อยละ 64.5) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 44.2 ซื้อเครื่องสำอางในราคาไม่เกิน 100 บาท โดยซื้อจากร้านค้าทั่วไปห้างสรรพสินค้า และร้านค้าสะดวกซื้อ (ร้อยละ 19.4, 15.9 และ 11.4 ตามลำดับ) ทั้งนี้ ร้อยละ 30.2 เคยประสบปัญหาจากการใช้เครื่องสำอาง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 91.9) ให้ความสำคัญกับการเลือกเครื่องสำอางที่ภาชนะบรรจุปิดมิดชิด ไม่มีร่องรอยการฉีกขาดหรือเปิดก่อนซื้อใช้ ในระดับมากถึงมากที่สุด พบว่าเพศหญิงและผู้ที่ศึกษาในภาครัฐมีประสบการณ์ใช้เครื่องสำอางมากกว่าเพศชายและผู้ที่ศึกษาในภาคเอกชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001 และ 0.041ตามลำดับ) สรุป: วัยรุ่นส่วนใหญ่โดยเฉพาะเพศหญิงมีการใช้เครื่องสำอางทาฝ้า/ทำให้หน้าขาว โดยให้ความสำคัญกับการเลือกเครื่องสำอางที่ภาชนะบรรจุปิดมิดชิด ไม่มีร่องรอยฉีกขาดหรือเปิดก่อนซื้อใช้ ได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อประเภทโทรทัศน์ และประสบการณ์การใช้เครื่องสำอางสัมพันธ์กับเพศและประเภทของสถานศึกษา ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเลือกใช้สื่อที่วัยรุ่นนิยมในการให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกใช้เครื่องสำอางทาฝ้าและทำให้หน้าขาวคำสำคัญ: การใช้เครื่องสำอาง, เครื่องสำอางทาฝ้า, เครื่องสำอางทำให้หน้าขาว, วัยรุ่นไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2553;5(2):114-120§Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2010-04-10
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์