ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ ในจังหวัดนครนายก

Authors

  • จันทิมา ฤกษ์เลื่อนฤทธิ์
  • มนัสนันท์ เงินสด
  • กันคณา วิหก
  • ณัฐวัลย์ เดชาดิลก
  • ศิริวรรณ ใจคอดี
  • อริสรา การเจน
  • ธนาพร จำปาศรี
  • สุดาทิพย์ บุญชด
  • ทิวนันท์ คำจันดี
  • โชติกา กันทา
  • ปิยพงษ์ ศรีน้ำเงิน
  • ภาสกร โตโส

Abstract

บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และความสามารถของปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ และการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในการร่วมกันทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดนครนายก วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบพรรณนาเชิงความสัมพันธ์มีกลุ่มตัวอย่างคือ พระสงฆ์ในจังหวัดนครนายก จำนวน 341 รูป จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม5 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) การรับรู้ความสามารถของตนเอง 3) การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ 4) การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และ 5) พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่เหมาะสม และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบพิจารณาตัวแปรต้นพร้อมกัน ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ระยะเวลาในการบวช 1 ปี ถึงมากกว่า 60 ปี พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่คัดสรรไม่สัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในขณะที่การรับรู้ความสามารถของตนเองและการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ตัวแปรทำนายในการวิเคราะห์ถดถอยสามารถร่วมอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพได้ร้อยละ 50.7 โดยการรับรู้ความสามารถของตนเองอธิบายความแปรปรวนดังกล่าวได้มากที่สุด รองลงมาคือ การเสพสารเสพติด อายุเมื่อเริ่มเสพสารเสพติด อายุและจำนวนพรรษาที่บวช สรุป: ผลการวิจัยฃี้แนะว่า การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์กลุ่มนี้ควรเน้นส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งการเสพสารเสพติดคำสำคัญ: พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ, พระสงฆ์, ปัจจัยส่วนบุคคลที่คัดสรร, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, สารเสพติดไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2553;5(4):333-343 §

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2010-10-12