ประสิทธิผลการใช้ยาของผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวี ที่ได้รับยาต้านไวรัส ณ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความร่วมมือใช้ยาตามสั่ง อาการไม่พึงประสงค์จากยา และผลการรักษาโดยพิจารณาจากผล CD4 และโรคติดเชื้อฉวยโอกาสในช่วงการรักษา ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัส วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบไปข้างหน้า ณ คลินิกสุขภาพ ตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในช่วงเดือนมกราคมถึงธันวาคม 2549 และติดตามผลในผู้ป่วยแต่ละคนต่ออีก 1 ปี รวมระยะเวลาการเก็บข้อมูล 2 ปี ผลการศึกษา: ในผู้ป่วยที่ติดตามการใช้ยา 104 ราย เป็นเพศชาย 59 ราย (ร้อยละ 56.7) มีอายุเฉลี่ย 36.19 ± 7.26 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ใช้สิทธิประกันสังคม (53 ราย, ร้อยละ 51) และสิทธิบัตรทอง (38 ราย, ร้อยละ 36.5) ระดับ CD4 ก่อนเริ่มรับประทานยาต้านไวรัสส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 0 – 50 copy/ml (51 ราย, ร้อยละ 49.5) พบว่าผู้ป่วยเคยเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสก่อนได้รับยาต้านไวรัส 46 ราย (ร้อยละ 44.2) ทั้งหมดเริ่มการรักษาด้วยยา GPO Vir S โดยส่วนใหญ่ได้รับ GPO Vir S 30 (72 ราย,ร้อยละ 69.2) ผลการติดตามการใช้ยาพบว่าผู้ป่วยทุกรายใช้ยาตามสั่งในเกณฑ์ดี (adherence มากกว่า 95%) (104 ราย, ร้อยละ 100) พบรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา 27 ครั้ง (ร้อยละ 25.96) ในผู้ป่วย 25 ราย โดยอาการที่พบบ่อยที่สุดคือ lipodystrophy (10 ครั้ง) รองลงมาคือ neuropathy (9 ครั้ง) ในผู้ที่สามารถติดตามติดตามระดับ CD4 ที่ 1 ปี (53 ราย) พบว่ามีผู้ป่วยที่มีผลการรักษาดีจำนวน 41 ราย (ร้อยละ 77.4) สรุป: ผู้ป่วยทุกคนมีการใช้ยาตามสั่งได้ดีอาการไม่พึงประสงค์จากยา ส่วนใหญ่เกิดในระดับที่ไม่รุนแรง และผลการรักษาอยู่ในเกณฑ์ดีศัพท์สำคัญ: ยาต้านไวรัส, เอชไอวี, ความร่วมมือในการใช้ยา, อาการไม่พึงประสงค์, CD4, โรคติดเชื้อฉวยโอกาสไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2553;5(4):309-315 §Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2010-10-12
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์