สภาพการณ์และแนวโน้มของการผ่าตัดคลอดที่โรงพยาบาลนครนายก ในช่วง 14 ปีย้อนหลัง

Authors

  • ธิติมา เหล่าศิริรัตน์

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการผ่าตัดคลอด ข้อบ่งชี้และแนวโน้มของการผ่าตัดคลอดเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาการบริการทำคลอดต่อไป วิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลการคลอดที่โรงพยาบาลนครนายกย้อนหลังเป็นเวลา 14 ปี ในช่วง 1 ตุลาคม 2540 ถึง 30 กันยายน 2553 ผลการศึกษา: พบว่าอัตราการผ่าตัดคลอดสูงมากขึ้นทุกปี โดยล่าสุดปีงบประมาณ 2553 พบสูงถึงร้อยละ 55.4 และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ แบ่งเป็นผ่าตัดคลอดครั้งแรก (primaryCaesarean section) ร้อยละ 38.4 และ secondary Caesarean sectionร้อยละ 17 ข้อบ่งชี้ที่พบบ่อย 5 อันดับเมื่อพิจารณารวม 14 ปี คือ previous Caesareansection (ร้อยละ14) dystocia (ร้อยละ11.8๗ fetal distress (ร้อยละ 4.5) abnormal presentation (ร้อยละ 4) และ elective Caesarean section (ร้อยละ 2.7)โดยพบข้อบ่งชี้ elective Caesarean section มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบมเป็นลำดับที่สามในปี 2553 สรุป: พบการผ่าตัดคลอดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง2540 – 2553 ซึ่งอาจลดการผ่าตัดคลอดได้โดยลด elective Caesarean section โดยต้องเน้นย้ำการไม่ผ่าตัดโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ และอาจลดการผ่าคลอดตามข้อบ่งชี้ dystocia (CPD) ได้โดยทำมาตรฐานการวินิจฉัย CPD ให้ได้มาตรฐาน แพทย์ควรมีการตรวจสอบตนเอง มีการพัฒนาคู่มือแนวทางสูติศาสตร์หัตถการที่เหมาะสม ไม่ชักนำการคลอดโดยไม่จำเป็นศัพท์สำคัญ: ผ่าตัดคลอด, ข้อบ่งชี้, แนวโน้ม, Caesarean section, โรงพยาบาลนครนายกไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2553;5(4):301-308 §

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2010-10-11