ฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดข่าลิงต่อเชื้อ Enterococcus faecalis ที่เจริญแบบไบโอฟิล์ม
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านจุลชีพเบื้องต้นของสารสกัดข่าลิง (Alpinia conchigera) ชั้น hexane, ethyl acetate และ methanol ต่อเชื้อที่เป็นตัวแทนของเชื้อแกรมบวก แกรมลบ เชื้อที่เจริญโดยไม่ใช้ออกซิเจน เชื้อรา และ Enterococcus faecalis (E. faecalis) รวมทั้งศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อ E. faecalis ที่เจริญแบบอิสระและแบบไบโอฟิล์ม รวมถึงศึกษาเวลาที่เหมาะสมในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อ วิธีการศึกษา: สกัดสารจากเหง้าข่าลิงโดยวิธี percolation ด้วย hexane, ethylacetate และ methanol ตามลำดับ ศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพเบื้องต้นของสารสกัดด้วย agar disc diffusion assay หาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ และฆ่าเชื้อ E. faecalis ด้วย agar dilution assay ศึกษาฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อและเวลาสัมผัสสารทดสอบของเชื้อ E. faecalis ที่เจริญแบบไบโอฟิล์ม ผลการศึกษา: สารสกัดทุกชั้นมีฤทธิ์ต่อเชื้อ Staphylococcus aureus (S. aureus) โดยสารสกัดชั้น hexane มีฤทธิ์แรงที่สุด สารสกัดมีฤทธิ์อ่อนต่อเชื้อ Escherichia coli (E. coli)และ Pseudomonas aeruginosa (Ps. aeruginosa) แต่ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อ Candida albicans (C. albicans) สารสกัดชั้น hexane, ethyl acetate และ methanol มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อ E. faecalis โดยมีค่า inhibition zone เท่ากับ 11.52 ± 0.07, 9.87 ± 1.04 และ 7.27 ± 2.57 มม. ตามลำดับ ค่า MIC ต่อเชื้อ E.faecalis ของสารสกัดชั้น hexane, ethyl acetate และ methanol เท่ากับ 25.0, 12.5 และ 50.0 มก./มล. ตามลำดับ ค่า MBC ต่อเชื้อที่เจริญแบบอิสระเท่ากับ50.0, 50.0 และ 100.0 มก./มล. ตามลำดับ และเพิ่มขึ้นเป็น > 125.0, 125.0 และ 250 มก./มล. ตามลำดับ เมื่อเชื้อมีการเจริญแบบไบโอฟิล์ม นอกจากนี้ ยังพบว่าต้องใช้สารสกัดชั้น ethyl acetate (125.0 มก./มล.) และชั้น methanol (250.0 มก./มล.) เป็นเวลา 4 และ 6 ชั่วโมง ตามลำดับ จึงสามารถฆ่าเชื้อ E. faecalis ที่เจริญแบบไบโอฟิล์มได้ สรุป: สารสกัดข่าลิงมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ E. faecalis ที่เจริญแบบอิสระและใช้ความเข้มข้นที่สูงขึ้นเพื่อฆ่าเชื้อที่เจริญแบบไบโอฟิล์มศัพท์สำคัญ: ฤทธิ์ต้านจุลชีพ, ข่าลิง, การเจริญแบบไบโอฟิล์ม, Enterococcus faecalisไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2553;5(4):279-286§Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2010-10-10
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์