สมรรถนะที่จำเป็นของผู้บริโภคต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นของผู้บริโภคต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตามมุมมองของผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริโภคสาธารณสุข วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ใช้เทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริโภคสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานทั้งภาครัฐและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค รวม 26 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการบอกต่อ เครื่องมือรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3 รอบ รอบที่ 1 เป็นแบบสัมภาษณ์โดยผู้วิจัยสัมภาษณ์ด้วยตนเอง รอบที่ 2 และ 3 เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับของความจำเป็น วิเคราะห์และนำเสนอโดย ใช้ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการศึกษา: มีผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นครบ 3 รอบจำนวน 23 คน (ร้อยละ 88.46) พบว่าสมรรถนะที่จำเป็นของผู้บริโภคต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประกอบด้วย 7 สมรรถนะหลัก 49 สมรรถนะย่อย คือ 1) สมรรถนะพื้นฐานของผู้บริโภค (11 สมรรถนะย่อย) 2) สมรรถนะด้านการดูแลสุขภาพ (10 สมรรถนะย่อย) 3) ด้านการประเมินและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ฯ (13 สมรรถนะย่อย) 4) ด้านการรู้สารสนเทศเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ฯ (2 สมรรถนะย่อย) 5) ด้านการรู้เท่าทันกลยุทธ์การตลาดและการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ฯ (4 สมรรถนะย่อย) 6) ด้านการประเมินความเหมาะสมความคุ้มค่า และสมประโยชน์ในการบริโภคผลิตภัณฑ์ฯ (3 สมรรถนะย่อย) และสมรรถนะที่ 7) สมรรถนะด้านการพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค (6 สมรรถนะย่อย) สรุป:สมรรถนะที่จำเป็นของผู้บริโภคต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริโภคมี 7 สมรรถนะหลัก การศึกษาต่อไปควรตรวจสอบว่าสอดคล้องกับความคิดของผู้บริโภคเองเพียงใด เน้นการวิเคราะห์องค์ประกอบของสมรรถนะ และสร้างเครื่องมือวัดสมรรถนะที่จำเป็นต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคำสำคัญ: สมรรถนะที่จำเป็นของผู้บริโภค, การตัดสินใจเลือกบริโภค, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2010-07-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์