รูปแบบการสั่งใช้ยารักษาโรคกรดไหลย้อนในผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลตติยภูมิ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลศิริราช
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษารูปแบบการสั่งใช้ยารักษาโรคกรดไหลย้อนในผู้ป่วยนอก ณ โรงพยาบาลศิริราชที่รับการรักษาเป็นครั้งแรก วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยจำนวน 217 ราย ซึ่งสุ่มเลือกจากทั้งหมด 473 ราย ที่รับการรักษา ณ โรงพยาบาลศิริราชเป็นครั้งแรกในปี 2548 โดยใช้แนวทางการรักษาโรคกรดไหลย้อนของสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทยเป็นแนวทางศึกษาลักษณะการใช้ยา ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 47.26 (ช่วง 2 - 91 ปี) ส่วนมากเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 65.59) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการแสดงที่ไม่จำเพาะ ซึ่งสามลำดับแรก ได้แก่ อาการแสบคอ/เจ็บคอ ความรู้สึกคล้ายมีก้อนอยู่ในลำคอ และจุกแน่นแสบลิ้นปี่ ส่วนอาการแสดงที่จำเพาะได้แก่ อาการเรอเปรี้ยว และ/หรืออาการแสบร้อนยอดอกพบน้อยกว่า ผู้ป่วยทุกรายได้รับการวินิจฉัยโดยการซักประวัติและมีผู้ป่วย 51 รายที่ได้รับการวินิจฉัยโดยวิธีอื่นร่วมด้วย วิธีที่ใช้มากที่สุด คือ esophagogastroduodenoscopy (ร้อยละ 21.20) ผู้ป่วยเกือบทั้งหมด (210 ราย หรือร้อยละ 96.77) ได้รับการสั่งใช้ proton-pump inhibitors (PPIs) โดยรูปแบบที่พบมากที่สุดคือ ได้รับ PPIs ร่วมกับ prokinetic drugs (ร้อยละ 71.30) รองลงมาคือ PPIs เพียงชนิดเดียว (ร้อยละ 22.24) PPIs ร่วมกับ H2-receptor antagonists (H2RAs) และยากลุ่ม prokinetic (ร้อยละ 3.24) ยา PPIs ที่สั่งใช้มากที่สุดสองลำดับแรกคือ omeprazole และ esomeprazole (ร้อยละ 64 และ 18 ตามลำดับ) ส่วนมากให้รับประทาน PPIs ก่อนอาหาร (ร้อยละ 76.08) และให้ยา 2 สัปดาห์ (ร้อยละ 36.46) รองลงมาคือ 4 และ 8 สัปดาห์ (ร้อยละ 23.76 และ 11.05 ตามลำดับ) สรุป: การสั่งใช้ยาสำหรับโรคกรดไหลย้อน ณ โรงพยาบาลศิริราชเกือบทั้งหมดสอดคล้องตามแนวทางการรักษาโรคกรดไหลย้อนของสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทยคำสำคัญ: โรคกรดไหลย้อน, รูปแบบการสั่งใช้ยาDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2010-07-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์