สมุนไพรพื้นบ้านแก้อัมพฤกษ์และอัมพาต
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการสำรวจสมุนไพรพื้นบ้านที่มีการใช้แก้อัมพฤกษ์และอัมพาตในประเทศไทย วิธีการศึกษา: ศึกษาใน 8 จังหวัด คือ ชัยภูมิ น่าน สุโขทัย เพชรบูรณ์ สุรินทร์ กระบี่ ยโสธร และอุบลราชธานี โดยสัมภาษณ์หมอพื้นบ้านเกี่ยวกับสมุนไพรที่ใช้ ชื่อพื้นเมือง ส่วนที่ใช้ ประโยชน์และวิธีใช้ พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างสมุนไพรจัดทำเป็นตัวอย่างพืชแห้ง ตรวจเอกลักษณ์พืชด้วยรูปวิธานและเปรียบเทียบตัวอย่างพืชที่พิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร กรมวิชาการเกษตรและหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษา: รวบรวมพรรณไม้ที่ใช้แก้อัมพฤกษ์ อัมพาตได้ทั้งหมด 61 ชนิด จากพืชจำนวน 33 วงศ์ จำแนกเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ 24 วงศ์ (50 ชนิด) พืชใบเลี้ยงเดี่ยว 6 วงศ์ (7 ชนิด) พืชเมล็ดเปลือย 1 วงศ์ (1 ชนิด) และเฟิร์น 2 วงศ์ (3 ชนิด) วงศ์ที่มีสมุนไพรแก้อัมพฤกษ์ อัมพาตมากที่สุดคือ Rubiaceae 8 ชนิด รองลงมาคือ Leguminosae 6 ชนิด โดยแบ่งเป็น 6 วงศ์ย่อย คือ Leguminosae–Caesalpinioideae 3 ชนิด และ Leguminosae-Papilionoideae 3 ชนิด สกุลที่มีพืชสมุนไพรมากที่สุด มี 6 สกุล พบสกุลละ 2 ชนิดคือ Crateva, Argyreia, Senna, Dalbergia, Oxyceros และ Alpinia และสมุนไพรที่ใช้ในรูปยาตำรับ 20 ตำรับ แบ่งเป็นสมุนไพรในตำราแก้อัมพฤกษ์ 13 ตำรับ และสมุนไพรใน ตำราแก้อัมพาต 7 ตำรับ สรุป: ผลจากการสำรวจสมุนไพรที่ใช้แก้อัมพฤกษ์และอัมพาตในประเทศไทยนี้อาจเป็นข้อมูลในการนำไปใช้ในการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์เภสัชผลิตภัณฑ์ได้ต่อไปคำสำคัญ: สมุนไพรพื้นบ้าน, อัมพฤกษ์, อัมพาตDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2010-07-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์