Diabetic Induction in Experimental Mouse Model - การชักนำภาวะเบาหวานในหนูทดลอง

Authors

  • Kanokwan Jarukamjorn
  • Thinnakorn Lao-ong
  • Waranya Chatuphonprasert
  • กนกวรรณ จารุกำจร
  • ทินกร เหล่าออง
  • วรัญญา จตุพรประเสริฐ

Abstract

AbstractDiabetes Mellitus (DM) is a chronic disease negatively influencing quality of life and economic status of a patient and society According to rapid increase in numbers of DM patients worldwide; there is an extensive effort to develop a new anti-diabetic drug. One important step in a new drug development is to study pharmacological and toxicological activities in the experimental animal prior subsequently performing risk-benefit assessment in human volunteers. Hence, a diabetic mouse model which possessed a corresponded DM condition to the objective of drug development is the first important necessity. Several pevious studies normally employed chemical agents such as streptozotocin, alloxan, or bromocriptine with different dose ranged from 10-200 mg/kg depending on route of administration and experimental animal species to induce DM type I. Likewise, induction of DM type II related to high fat-diet feeding and/or co-administration of the chemical agent to predispose obesity and insulin tolerance condition in animals. Besides DM induction using the chemical agent or high fat-diet feeding, a genetic modifying and viral infected techniques have been introduced to produce a specific DM animal species. Therefore, a DM experimental animal model optimally supporting a drug development objective leads to reliability and valuable knowledge of its outcome.Keywords: diabetes mellitus, diabetic induction, streptozotocin บทคัดย่อโรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) เป็นโรคที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคม ปจั จุบันจำนวนผู้ป่วยทัว่ โลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงมีการมุ่งพัฒนายาใหม่เพื่อรักษาเบาหวานอย่างต่อเนื่อง ขัน้ ตอนที่สำคัญในการพัฒนายาคือ การศึกษากลไกการออกฤทธิ ์และความเป็นพิษของยาในสัตว์ทดลอง เพื่อการประเมินความปลอดภัยก่อนการทดสอบต่อไปในมนุษย์ ดังนั้นการชักนำหนูทดลองให้เกิดภาวะเบาหวานที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการพัฒนายา จึงเป็นขัน้ ตอนแรกที่สำคัญ การศึกษาที่ผ่านมานิยมใช้สารเคมี อาทิ streptozotocin, alloxanหรืออาจพบสารเคมีอื่นบ้าง เช่น bromocriptine เป็นต้น ในขนาดและจำนวนครัง้ ที่แตกต่างกันตั้งแต่ 10-200 mg/kg ขึ้นกับวิธีการบริหารยาและสายพันธุ์หนูทดลอง เพื่อชักนำภาวะเบาหวานชนิดที่ 1 ในขณะที่การชักนำภาวะเบาหวานชนิดที่ 2 อาจใช้เฉพาะการให้อาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันในปริมาณสูง เพื่อชักนำให้หนูทดลองเกิดภาวะอ้วน และภาวะดื้ออินซูลิน หรือในบางกรณีอาจใช้อาหารไขมันสูงร่วมกับการให้สารเคมีดังกล่าวด้วย นอกจากวิธีการที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีการพัฒนาวิธีต่างๆเพื่อชักนำภาวะเบาหวานให้ใกล้เคียงกับที่เกิดขึ้นในมนุษย์ ได้แก่ การพัฒนาพันธุกรรมหนูทดลองเป็นสายพันธุ์ที่มีภาวะเบาหวาน การชักนำด้วยไวรัสเพื่อกระตุ้นให้เกิดภาวะต้านภูมิตัวเอง เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การชักนำภาวะเบาหวานในหนูทดลองที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการพัฒนายาหรือสมุนไพรที่ศึกษาย่อมนำมาซึ่งผลการทดลองที่เชื่อถือได้ และองค์ความรู้ต่อการพัฒนายารักษาโรคเบาหวานต่อไปคำสำคัญ: โรคเบาหวาน, การชักนำภาวะเบาหวาน, streptozotocin

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2011-07-01