Effects of Thai Herbs Used in Traditional Women Remedies on the Uterine Contraction - การศึกษาฤทธิ์ของสมุนไพรที่มีในตำรับยาสตรีแผนโบราณ ต่อการหดตัวของมดลูก
Abstract
AbstractObjectives: To investigate the effects of Thai herbs used in traditionalwomen remedies on the contraction of uterus in vitro. Plants that often found in women remedies, i.e. Carthamus tinctorius (C.T.), Caesalpinia sappan (C.S.), Leonurus sibiricus (L.S.), Conioselinum univitatum (C.U.), and Curculigo latifolia var. latifolia (C.L.). Method: The herbs were extracted in 95% ethanol, phytochemical screened, and then examined the effects on the contraction of rat uterus. Results: It was found that acetylcholine (ACh), a standard agent, gave a maximal response observed within 5 minutes. The maximal contraction was 134.6% of KCl response. The concentration of ACh responded for 50% contraction (EC50) was 6.54x10-8 M. and the frequency of contraction was 1.30 ± 0.21 min-1. All plant extracts stimulated a contraction of uterus, in which the maximal contraction response were observed in C.S. > C.U. > L.S. > C.T.> C.L ranging from 70.79 - 124.1% of KCl response. The EC50 of those extracts were ranged from 8.3110x10-15 to 1.58x10-5 g/ml. The frequency of contraction were higher in L.S. > C.S. > C.L > C.T > C.U. Conclusion: Herbs used in traditional women remedies induced contraction of uterus in different degree.Keywords: Uterine contraction, Traditional women remedies, Carthamus tinctorius, Caesalpinia sappan., Leonurus sibiric, Conioselinum univitatum, Curculigo latifolia var. latifolia. บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาฤทธิข์ องสมุนไพรในตำรับยาสตรีแผนโบราณต่อการหดตัวของมดลูกในหลอดทดลอง โดยเป็นสมุนไพรส่วนประกอบในตำรับยาสตรีแผนโบราณมากที่สุด 5 ชนิด ได้แก่ คำฝอย (Carthamus tinctorius) ฝาง (Caesalpiniasappan) กัญชาเทศ (Leonurus sibiricus) โกฐหัวบัว (Conioselinumunivitatum) และว่านสากเหล็ก (Curculigo latifolia var. latifolia) วิธีการศึกษา:ทำการสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 95 และทดสอบเอกลักษณ์เบื้องต้น จากนั้นนำสารสกัดมาทดสอบฤทธิต์ ่อการหดตัวของมดลูกของหนูพุกขาวในหลอดทดลอง ผลการศึกษา: พบว่า acetylcholine ซึ่งเป็นสารมาตรฐานให้การหดตัวสูงสุดภายใน 5 นาที และมีค่าความถี่ของการหดตัวเท่ากับ 1.30 ± 0.21 ครัง้ /นาที ค่าการหดตัวสูงสุดเท่ากับร้อยละ134.60 ± 7.18 ของการตอบสนองต่อ KCl โดยมีความเข้มข้นที่ให้การตอบสนองร้อยละ 50 (EC50) เท่ากับ 6.545x10-8 โมลาร์ สารสกัดสมุนไพรทุกชนิดสามารถกระตุ้นให้มดลูกหดตัวได้ โดยให้แรงหดตัวสูงสุดเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ฝาง โกฐหัวบัว กัญชาเทศ คำฝอยและว่านสากเหล็ก โดยให้การหดตัวสูงสุดระหว่างร้อยละ 70.79 ถึง 124.1 ของการตอบสนองต่อ KCl และมีค่า EC50 ระหว่าง 8.3110x10-15 ถึง 1.58x10-5 ก./มล.ความถี่ของการหดตัวของมดลูกตอบสนองต่อสารสกัดเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ กัญชาเทศ ฝาง ว่านสากเหล็ก คำฝอย และโกฐหัวบัว สรุป: สมุนไพรที่มีอยู่ในตำรับยาสตรีแผนโบราณมีฤทธิก์ ระตุ้นการหดตัวของมดลูกได้ในระดับที่แตกต่างกันคำสำคัญ: การหดตัวของมดลูก, ยาสตรีแผนโบราณ, คำฝอย, ฝาง, กัญชาเทศ,โกศหัวบัว, ว่านสากเหล็กDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2011-07-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์