Antioxidative Effect of Alpinia Conchigera Rhizome Extracts - ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเหง้าข่าลิง
Abstract
AbstractObjectives: To investigate the antioxidative effect of Alpinia conchigera rhizome extracts in hexane, ethyl acetate, and methanol and to study such effect of ethyl acetate fraction in male Wistar rats. Methods: Alpinia conchigera rhizomes were extracted by percolation with hexane, ethyl acetate, and methanol, respectively. Total phenolic content of each fraction was determined. In vitro studies of antioxidative effect of 3 fractions were investigated using DPPH, ABTS, and FRAP assay. Antilipid peroxidation effects were evaluated using heat induced linoleic acid peroxidation. In vivo antioxidative effect of ethyl acetate fraction was studied in oxidative stress male Wistar rats induced by carbon tetrachloride at the last day after each extract was given orally (100, 200 or 500 mg/kg) consecutively for 28 days. The liver and brain were harvested and prepared for malondialdehyde (MDA) content assay. Results: The highest total phenolic content was shown in ethyl acetate fraction at 120.44 ± 0.01 μg/mg. Free radical scavenging activity of ethyl acetate fraction was revealed as IC50 at 12.32 ± 0.28 μg/mL for DPPH assay and TEAC value at 26.02 ± 1.92 μg/mg for ABTS assay. The reducing power of ethyl acetate fraction expressed as FRAP value was 1.16 ± 0.05 μM/mg. The ethyl acetate fraction decreased peroxidation of linoleic acid induced by heat during storage. The results of in vivo antioxidant study indicated that each dose in ethyl acetate fraction did not significantly reduce the amount of liver and brain MDA. Conclusion: Alpinia conchigera rhizome ethyl acetate extract showed antioxidative effect in vitro; therefore, chemical compound, mechanism of action, and toxicity for new drug development should be further evaluated. Keywords: Alpinia conchigera, rhizome, antioxidative effect, total phenolic content, carbontetrachloride, malondialdehyde บทคัดย่อวัตถุประสงค์: ศึกษาฤทธิต์ ้านอนุมูลอิสระของส่วนสกัดเหง้าข่าลิงชั้นเฮกเซน(hexane) เอทธิลอะซิเตท (ethyl acetate) และเมทานอล (methanol) และศึกษาฤทธิด์ ังกล่าวของสารสกัดเหง้าข่าลิงชั้นเอทธิลอะซิเตทในหนูขาว วิธีการศึกษา:สกัดสารจากเหง้าข่าลิงโดยวิธีเปอร์โคเลชันด้วยเฮกเซน เอทธิลอะซิเตท และเมทานอล วัดปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม ศึกษาฤทธิต์ ้านออกซิเดชันในหลอดทดลองด้วย DPPH assay, ABTS assay และ FRAP assay ทดสอบฤทธิย์ ับยัง้การเกิดเปอร์ออกซิเดชันของกรดไขมันไลโนเลอิกที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดด้วยความร้อน ศึกษาฤทธิต์ ้านออกซิเดชันในสัตว์ทดลองโดยเหนี่ยวนำให้หนูขาวเกิดภาวะถูกออกซิไดซ์เกินสมดุลด้วยคาร์บอนเตตระคลอไรด์ในวันสุดท้ายหลังได้รับสารสกัดข่าลิงชัน้ เอทธิลอะซิเตทในขนาด 100, 200 และ 500 มก./กก. ทุกวันนาน 28วัน เก็บตับและสมองเพื่อวัดปริมาณมาลอนไดอัลดีไฮด์ ผลการศึกษา: สารสกัดเหง้าข่าลิงชัน้ เอทธิลอะซิเตทมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมสูงสุดคือ 120.44 ±0.01 มคก./มก. ผลการศึกษาความสามารถในการจับอนุมูลอิสระพบค่า IC50เท่ากับ 12.32 ± 0.28 มคก./มก. เมื่อทดสอบด้วย DPPH assay และมีค่า TEAC(Trolox Equivalent Antioxidative Capacity) เท่ากับ 26.02 ± 1.92 มิลลิโมลาร์/มก. เมื่อทดสอบด้วย ABTS assay ความสามารถในการให้อิเล็กตรอนเมื่อทดสอบด้วย FRAP assay มีค่า FRAP value 1.16 ± 0.05 ไมโครโมลาร์/มก. สารสกัดเหง้าข่าลิงชัน้ เอทธิลอะซิเตทสามารถลดการเกิดเปอร์ออกซิเดชันของกรดไขมันไลโนเลอิกที่ถูกเหนี่ยวนำโดยความร้อนในขณะเก็บได้ สารสกัดดังกล่าวทุกขนาดสามารถลดปริมาณมาลอนไดอัลดิไฮด์ในตับและสมองของหนูขาวได้ แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: สารสกัดเหง้าข่าลิงชั้นเอทธิลอะซิเตทเมื่อทดสอบในหลอดทดลองมีสารที่มีฤทธิต์ ้านอนุมูลอิสระที่ดี จึงควรศึกษาเพื่อหาโครงสร้างสารสำคัญ กลไกการออกฤทธิ ์และความปลอดภัย เพื่อพัฒนาเป็นยาต่อไปคำศัพท์ที่สำคัญ: เหง้าข่าลิง, ฤทธิต์ ้านอนุมูลอิสระ, ปริมาณสารประกอบฟีนอ-ลิกรวม, คาร์บอนเตตระคลอไรด์, มาลอนไดอัลดีไฮด์Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2011-07-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์