Comparison of Neck Movement between Dentists with and without Work Related Musculoskeletal Pain
Abstract
AbstractObjective: To compare neck movement between dentists with and without work related musculoskeletal pain. Method: By ways of purposive sampling, this case-control study recruited 19 dentists; 10 and 9 with and without work related musculoskeletal pain respectively. While performing scaling in gingivitis patients, the dentists’ degrees of neck flexion and lateral flexion were measured by electrogoniometer and recorded by ultrasonic recorder every second until finishing work. Data from the two groups were analyzed by Datalog. Results: The 10th, 50th and 90th percentiles of neck flexion among dentists with work related musculoskeletal pain were 25.67, 39.52 and 50.16 degree, respectively; while those of dentists without pain were 20.58, 32.24, and 40.25 degree, respectively. The 10th, 50th and 90th percentiles of the right lateral flexion were 2.38, 15.06, and 23.45 degree, respectively among dentists with pain and 3.02, 8.68, and 18.0 degree, respectively, among those without pain. For neck lateral flexions to the left, there were 1.80, 9.0, and 27.81 degree and 1.44, 5.22, and 13.68 degree for dentists with and without musculoskeletal pain respectively. Dentists with pain had greater degree of neck flexion and right and left lateral flexions in 10th, 50th and 90th percentiles except the 10th percentile of right lateral flexion. The results showed that degree of neck flexion, right and left lateral flexion movement between dentists with and without musculoskeletal pain were significantly different in statistical output (p<0.05). Dentists with pain had static posture in neck flexion 26.70% and in lateral flexion 29.38% of working time; while those without pain had static posture in neck flexion 20.70% and in lateral flexion 51.35% of such time. Conclusion: Neck flexion and lateral flexion among dentists with work related musculoskeletal pain were significantly higher than in dentists without such pain.Keywords: electrogoniometer, musculoskeletal disorders (MSD), joint range of motion, neck range of motion, dentist บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบองศาการเคลื่อนไหวของคอขณะทำงานของทันตแพทย์ที่มีและไม่มีอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน วิธีการศึกษา: รูปแบบการศึกษาเป็น case-control study โดยตัวอย่างเป็นทันตแพทย์ 19 คน แบ่งเป็นผู้มีอาการปวดกล้ามเนื้อ 10 คน และไม่มีอาการ 9 คน ให้ทันตแพทย์ผู้ร่วมวิจัยขูดหินน้ำลายทุกตำแหน่งในช่องปากอาสาสมัคร เก็บข้อมูลองศาการเคลื่อนไหวของคอทัง้ แกนก้ม-เงย และแกนซ้าย-ขวา โดยเครื่องวัดองศาการเคลื่อนไหวของข้อต่อแบบอิเลคโทรนิค บันทึกองศาการเคลื่อนไหวโดยเครื่องอัลตราโซนิคต่อเนื่องทุก 1วินาที วิเคราะห์ข้อมูลระหว่างสองกลุ่มโดยโปรแกรม Datalog ผลการศึกษา: ค่าองศาการเคลื่อนไหวของมุมก้มคอที่เปอร์เซนต์ไทล์ที่ 10, 50 และ 90 ของทันตแพทย์ที่มีอาการปวดเท่ากับ 25.67, 39.52 และ 50.16 องศาตามลำดับ ส่วนกลุ่มที่ไม่มีอาการเท่ากับ 20.58, 32.24 และ 40.25 องศา ค่าองศาการเคลื่อนไหวเอียงคอทางขวาที่เปอร์เซนต์ไทล์ที่ 10, 50 และ 90 ของทันตแพทย์ที่มีอาการเท่ากับ2.38, 15.06 และ 23.45 องศาตามลำดับ ในกลุ่มที่ไม่มีอาการเท่ากับ 3.02, 8.68และ 18.0 ส่วนการเอียงคอทางซ้ายนั้น ทันตแพทย์ที่มีอาการเท่ากับ 1.80, 9.0และ 27.81 องศา และที่ไม่มีอาการเท่ากับ 1.44, 5.22 และ 13.68 องศาตามลำดับโดยกลุ่มที่มีอาการมีค่าองศาการเคลื่อนไหวก้มคอและเอียงคอซ้ายขวาขณะปฏิบัติงานมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีอาการที่เปอร์เซนต์ไทล์ 10, 50 และ 90 ยกเว้นเอียงคอทางขวาที่เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 10 โดยค่าองศาการเคลื่อนไหวของคอมุมก้ม-เงยและเอียงคอซ้าย-ขวาขณะทำงานของ 2 กลุ่มแตกต่างกัน (P < 0.05) ผู้ร่วมการศึกษามีช่วงทำงานค้างท่าเดิมในแนวก้มคอเป็นเวลานาน โดยในกลุ่มที่มีอาการคิดเป็นร้อยละ 26.70 ของเวลาทำงานทัง้ หมด และค้างท่าเดิมแนวเอียงคอซ้าย-ขวาเป็นร้อยละ 29.38 ของเวลาทัง้ หมด ส่วนกลุ่มที่ไม่มีอาการคิดเป็นร้อยละ20.70 และ 51.35 ตามลำดับของเวลาทัง้ หมด สรุป: มุมที่ใช้ในการทำงานก้มและเอียงซ้ายขวาของกลุ่มทันตแพทย์ที่มีอาการปวดมีค่ามากกว่ากลุ่มไม่มีอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานคำสำคัญ: เครื่องวัดองศาการเคลื่อนไหวของข้อต่อแบบอิเลคโทรนิค, ความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ, ช่วงองศาการเคลื่อนไหวของข้อ,ช่วงองศาการเคลื่อนไหวของคอ, ทันตแพทย์Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2011-07-01
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์