ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ การเจริญเติบโตหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ การสนับสนุนทางสังคม ในสตรีหลังทารกตายปริกำเนิด ประเทศจีน Relationships between Post-traumatic Stress Disorder, Post-traumatic Growth, and Social Support in Women with Perinatal Loss in China

Authors

  • YingXia Chen Fujian
  • Chintana Wacharasin

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินระดับความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ การเจริญเติบโตหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ การสนับสนุนทางสังคม และทดสอบความสัมพันธ์ของสามปัจจัยนี้ ในสตรีหลังทารกตายปริกำเนิดชาวจีน วิธีการศึกษา: ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างตามความสะดวกเพื่อคัดเลือกสตรี 131 รายภายใน 6 เดือนหลังทารกตามปริกำเนิด ที่โรงพยาบาล Maternal and Child Health Hospital, Xia Pu County, ประเทศจีน ในช่วงกันยายน 2564 ถึงมิถุนายน 2565  รวบรวมข้อมูลประชากรศาสตร์ ใช้แบบสอบถามประเมินความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ การเจริญเติบโตหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ การสนับสนุนทางสังคม ฉบับภาษาจีน ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิอัลฟาของครอนบาคเป็น 0.90, 0.85 และ 0.93 ทดสอบและแสดงค่าความสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา: พบอัตราการเกิดความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจร้อยละ 55.7 ซึ่งค่อนข้างสูง คะแนนเฉลี่ยของการเจริญเติบโตหลังเหตุการณ์สะเทือนใจอยู่ที่ 36.98 ± 5.11 คะแนน ซึ่งต่ำกว่าการศึกษาที่ผ่านมา คะแนนเฉลี่ยการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมอยู่ระหว่าง 37 - 60 อยู่ในระดับปานกลาง พบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจและการเจริญเติบโตหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (r = 0.245, P-value < 0.01) การเจริญเติบโตหลังเหตุการณ์สะเทือนใจและการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม (r = 0.173, P-value < 0.05) แต่ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจและการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.052, P-value > 0.05) สรุป: ความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจสูงทำให้การเจริญเติบโตหลังเหตุการณ์สะเทือนใจเพิ่มขึ้นด้วย แต่ความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจไม่สัมพันธ์กับการสนับสนุนทางสังคมในสตรีที่สูญเสียปริกำเนิดกลุ่มนี้ คำสำคัญ: ทารกตายปริกำเนิด; ความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ; การเติบโตหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ; การสนับสนุนทางสังคม; ชาวจีน Abstract Objective: To determine post-traumatic stress disorder (PTSD), post-traumatic growth (PTG), and social support (SS) and examine their relationships in Chinese women after perinatal loss. Method: A convenience sampling method was used to recruit 131 women within 6 months after perinatal loss at the Maternal and Child Health Hospital, Xia Pu County, China. It was conducted from September 2021 to June 2022. Four instruments used for data collection included 1-demographic record form, 2-PTSD Checklist - Civilian Version, 3-Chinese Version of Post Traumatic Growth Inventory and 4-Perceived Social Support Scale. Scales numbers 2 – 4 yielded Cronbach’s alpha coefficients of 0.90, 0.85, and 0.93, respectively. Results: The incidence rate of positive PTSD was about 55.7%, which was relatively high. The average score of PTG was 36.98 ± 5.11 point which was lower than previous studies. SS’s average score was between 37 - 60 points, i.e., at the moderate level of perceived social support. There was a positive correlation between PTSD and PTG (r = 0.245, P-value < 0.01), PTG and SS (r = 0.173, P-value < 0.05). There was no significant correlation between PTSD and SS (r = 0.052, P-value > 0.05). Conclusion: Heavier PTSD demonstrated stronger PTG among women experiencing perinatal loss. However, PTSD had no association with SS. Keywords: perinatal loss; post-traumatic stress disorder; post-traumatic growth; social support; Chinese

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2024-12-29