การศึกษาปัจจัยและระดับความเชื่อมั่นในการทำเวชปฏิบัติทางการแพทย์แผนไทยประยุกต์ของ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต Self-efficacy and Its Influencing Factors in the Practice of Applied Thai Traditional Medicine Among the Graduates of the Applied Thai Traditional Medicine Program
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเชื่อมั่นในความสามารถแห่งตนในทำเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทยประยุกต์ วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนามีกลุ่มตัวอย่างคือ แพทย์แผนไทยประยุกต์ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2552 – 2555 จำนวน 560 คน รับการประเมินโดยใช้แบบสอบถามลักษณะทางประชากรศาสตร์ และความเชื่อมั่นในความสามารถแห่งตนในการปฏิบัติการทางเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทย และปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเชื่อมั่นในความสามารถแห่งตนในการปฏิบัติการทางเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของความเชื่อมั่น และวิเคราะห์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา: การวิเคราะห์ของปัจจัยความเชื่อมั่นในความสามารถแห่งตนในการปฏิบัติทางเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทยแยกตามสาขา พบว่าด้านเวชกรรมแผนไทย หัตถเวชกรรมแผนไทย และ ผดุงครรภ์แผนไทย มีปัจจัยที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นสูงสุดมาจาก การลงมือปฏิบัติทางเวชปฏิบัติด้วยตนเอง รองลงมาคือการเห็นตัวแบบ โดยคิดเป็นมากกว่าร้อยละ 90 ทั้งสองปัจจัย ระดับความยากของการปฏิบัติทางเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทย พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 104.22 + 37.28 คะแนน ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมั่นในความสามารถแห่งตนในการปฏิบัติทางเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทยโดยรวม กับระยะเวลาจากสำเร็จการศึกษาถึงเริ่มทำงาน ระยะเวลาที่ทำงานในที่ปัจจุบัน และจำนวนแห่งที่ทำงาน พบว่าโดยรวมแล้วมีความพันธ์กันในระดับที่ต่ำอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ผลวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นในความสามารถแห่งตน พบว่าทุกด้านมีคะแนนเฉลี่ยความเชื่อมั่นในความสามารถแห่งตน ของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เลือกวิชาเลือกนั้น มีคะแนนสูงกว่าคนที่เลือก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านเวชกรรมแผนไทย หัตถเวชกรรมแผนไทย เภสัชกรรมแผนไทย และผดุงครรภ์แผนไทย (p=0.04, 0.001, <0.001, 0.001 ตามลำดับ) สรุป: ผลการศึกษาครั้งนี้ยืนยันให้เห็นว่าในการจัดการเรียนการสอน หรือการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และความมั่นใจทางการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ต้องให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง รวมทั้งการใช้ตัวแบบ และการใช้คำพูดจูงใจให้เกิดความเชื่อมั่นในความสามารถแห่งตน คำสำคัญ : ความเชื่อมั่นในความสามารถแห่งตน ; แพทย์แผนไทยประยุกต์ ; การศึกษา; เวชปฏิบัติ Abstract Objective: This study explored factors associated with self-efficacy in the practice of Applied Thai Traditional Medicine (ATTM). Methods: This descriptive analysis involved 560 graduates from the years 2009 to 2012. Data collection was carried out using questionnaires that assessed self-efficacy, which included sections on general information, a self-efficacy scale, and factors related to self-efficacy. Statistical analyses performed on the collected data included descriptive statistics, T-tests, and Pearson correlation to examine the relationships and differences within the data. Results: The analysis revealed that self-efficacy in Thai traditional Medicine (TM), Thai traditional Massage (Tmas), and Thai traditional Midwifery (Tmid) was highly influenced by vicarious experience and mastery experience, with both factors exceeding 90%. The practical difficulty had a mean score of 104.22 ± 37.28. There was no statistically significant correlation between self-efficacy in ATTM practice and the duration for applying job since graduation, the duration of current job, or number of workplace experiences (p > 0.05). The comparison of mean self-efficacy scores between participants who chose the major subject and those who did not revealed that participants who did not choose any major subjects had significantly higher scores in Thai traditional Medicine (TM), Thai traditional Massage (Tmas), Thai traditional Pharmacy (TP), and Thai traditional Midwifery (Tmid), with p-values of 0.04, 0.001, <0.001, and 0.001 respectively. Conclusion: The findings confirm that academic courses or training programs aimed at improving knowledge, skills, and self-efficacy in Applied Thai Traditional Medicine should provide opportunities for practical, hands-on learning, as well as vicarious experiences and verbal persuasion. Keywords: Self - efficacy ; Applied Thai traditional medicine; Education; Clinical practiceDownloads
References
Thai traditional medicine. Act, B.E., 2013.(in Thai)
Ministry of Public Health. Professional Committee on Applied Thai Traditional Medicine. Division of the Art of Healing. Standard Criteria for Applied Thai Traditional Medicine Curriculum, Bangkok, 2004. (in Thai)
Laohapand T, Jaturatamrong U, Jantabut C, et al. Thai Traditional Medicine in the Faculty of Medicine Siriraj Hospital. Bangkok, 2009(in Thai).
Janepanich K. An article on Traditional Thai Medicine (Ayurveda), Herbs and Traditional Thai Massage of Thailand. Department of Pharmacology. Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok, 1982.(in Thai)
Bandura A. Self-efficacy. In V. S. Ramachaudran (Ed.), Encyclopedia of human behavior (Vol. 4, pp. 71-81). New York: Academic press, 1994.
Abdal M, Masoudi Alavi N, Adib-Hajbaghery M. Clinical Self-Efficacy in Senior Nursing Students: A Mixed- Methods Study. Nurs Midwifery Stud. 2015; 4(3).
Laohapand T, Jaturatamrong U. Thai traditional massage (The court-type Thai traditional massage): Basic massage line. 2nd ed. Bangkok, 2011. (in Thai)
Supawong C. Service Manual of Tambon Health Promoting Hospital Ministry of Public Health. 2nd edition. Bangkok, 2009. (in Thai)
Pasanthanathorn W. The use of Thai herbal medicines in sub-district health promoting hospitals. Ministry of Public Health. 2012. (in Thai)
Ministry of Public Health. Thai Traditional Medicine & Integrative Medicine Promoting Hospital Standard (TIPhS), 2013. (in Thai)
Sirisuk W. Psychological approaches and theories related to preventive behaviors and health promotion in the Health Behavior Research Handbook, Volume 1: Concepts and Theories on Health Behavior, Mallika Matko (Editor) (Pages 70-114), Bangkok, 1991. (in Thai)
Soonsawad W, Grisurapong S, Sherer P et al. The Professional Identity of Thai Traditional Medicine Student. The 56th Kasetsart University Annual conference. 2018. (in Thai)
Downloads
Published
Issue
Section
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์