ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของเด็กวัยเรียนในภาคตะวันออก Predictors of Preventive Behaviors for Coronavirus Disease 2019 among School-age Children in the Eastern Region of Thailand

Authors

  • nattaya sangsai Faculty of Nursing Burapha University
  • Natchanan Chivanon Faculty of Nursing, Burapha University
  • Wanita Kwansumran Faculty of Nursing, Burapha University

Abstract

บทคัดย่อ                                                           วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และอิทธิพลของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมตามแบบจำลองการวางแผนส่งเสริมสุขภาพ (PRECEDE-PROCEED MODEL) ต่อพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของเด็กวัยเรียน วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยเรียนในภาคตะวันออก ช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระหว่างเดือนธันวาคม 2564 ถึงมีนาคม 2565 จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจำนวน 250 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และปัจจัยที่อาจมีอิทธิพล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับมาก  (mean = 51.43, SD = 12.80) ซึ่งการรับรู้สมรรถนะในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (β = 0.330, P-value < 0.001) ทัศนคติต่อมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (β = - 0.310, P-value < 0.05) และการเข้าถึงบริการสุขภาพ (β = 0.262, P-value < 0.05) เป็นปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ร่วมทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ได้ร้อยละ 21.6  (R2 = 0 .216, P-value < 0.05) สรุป: พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะในการป้องกันโรค ทัศนคติต่อมาตรการป้องกันโรค และการเข้าถึงบริการสุขภาพ การพัฒนากิจกรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 เด็กวัยเรียนควรเน้นกิจกรรมเสริมสร้างการรับรู้สมรรถะแห่งตน ทัศนคติต่อมาตรการป้องกันโรค และการเข้าถึงบริการสุขภาพ    คำสำคัญ: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019; พฤติกรรมการป้องกันโรค; เด็กวัยเรียน; การรับรู้สมรรถนะในการป้องกันโรค; ทัศนคติต่อมาตรการป้องกันโรค; การเข้าถึงบริการสุขภาพ ­­­­Abstract Objective: To study health behavior for COVID-19 prevention and the influence of predisposing, enabling, and reinforcing factors according to the PRECEDE-PROCEED MODEL on the behaviors among school age. Method: This predictive correlational study had 250 school age children’s participants in the eastern region of Thailand during the COVID-19 pandemic from December 2021 to March 2022. Participants were selected through a multi-stage random sampling. The questionnaire assessed the behavior and influencing factors. Stepwise multiple linear regression was school age children to test the associations. Results: The participants had a high level of health behavior for COVID-19 prevention (mean = 51.43, SD = 12.80). Perceived self-efficacy in COVID-19 prevention (β = 0.330, P-value < 0.001), attitude towards COVID-19 preventive measures (β = - 0.310, P-value < 0.05), and access to health services (β = 0.216, P-value < 0.05) were statistically significant predictors and could predict the behavior by 21.6% (R2 = 0.216, P-value < 0.05). Conclusion: COVID-19 prevention behavior was associated with perceived self-efficacy, attitude towards preventive measures, and access to health services. Preventive behaviors could be developed through activities to enhance perceived self-efficacy, positive attitudes, and access to health service. Keywords: coronavirus disease 2019; preventive behaviors; school-age children; perceived self-efficacy in disease prevention; attitude toward preventive measures; access to health services

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2024-06-30