ผลของการสนับสนุนการจัดการตนเองผ่านแอปพลิเคชันไลน์ออฟฟิเชียล ต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง Effects of Self-Management Support via Line Official Application on Knowledge, Attitude and Practice in Chronic Kidney Disease Patients

Authors

  • Korngamon Rookkapan Department of Social and Administrative Pharmacy
  • Ampawan Noorid Ampawan Noorid

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันไลน์ออฟฟิเชียลที่ใช้ดูแลผู้ป่วยโรคไตและเปรียบเทียบผลของการใช้แอปพลิเคชันต่อความรู้เรื่องโรคไต ทัศนคติต่อการรับประทานอาหารเค็ม พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อม และความพึงพอใจของผู้ป่วย วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้มี 2 โครงการย่อย คือ 1. การวิจัยเพื่อพัฒนาไลน์ออฟฟิเชียล “หมอยารักษ์ไต” 2. การวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของไลน์ออฟฟิเชียล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 2 และ 3 จำนวน 34 ราย การแทรกแซงคือไลน์ออฟฟิเชียลหมอยารักษ์ไตและการสนับสนุนการจัดการตนเองโดยเภสัชกร ไลน์ออฟฟิเชียลมี 4 เมนู คือ ความรู้โรคไต การดูแลตนเอง การรักษาโรคไต และคำถามที่พบบ่อย ในช่วง 10 สัปดาห์ที่ให้การแทรกแซงมีการส่งข้อมูลบรอดแคสต์ 10 เรื่อง การวิเคราะห์ความรู้ ทัศนคติต่อการรับประทานอาหารเค็ม และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อมเปรียบเทียบก่อนและหลังการแทรกแซง ใช้สถิติ paired t-test ผลการศึกษา: เมื่อสิ้นสุดการศึกษากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เรื่องโรคไตเพิ่มขึ้น ทัศนคติต่อการรับประทานอาหารเค็มลดลง และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001, 0.024 และ < 0.001 ตามลำดับ) ความพึงพอใจส่วนใหญ่อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด สรุป: หลังการใช้ไลน์ออฟฟิเชียลหมอยารักษ์ไต ความรู้และคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ทัศนคติต่อการรับประทานอาหารเค็มลดลง ผู้ป่วยส่วนใหญ่พึงพอใจระดับมากที่สุด ควรขยายการใช้ไลน์ออฟฟิเชียลกับผู้ป่วยโรคไตในโรงพยาบาลต่อไป คำสำคัญ: โรคไตเรื้อรัง, แอปพลิเคชันไลน์ออฟฟิเชียล, ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อม Abstract Objective: To develop an intervention using Line Official application with pharmacist 's self-management support for chronic kidney disease (CKD) patients and to compare scores of knowledge about kidney disease, attitude towards eating salty food, practice to delay CKD progression, and satisfaction. Methods: The first part was to develop the intervention and the second part was quasi-experimental research on the intervention. Thirty-four stage 2 – 3 CKD patients were recruited. The application had 4 menus including knowledge about CKD, self-care, treatment of CKD, and frequently asked questions. During the 10-week intervention, 10 broadcasts were done. Scores of knowledge, attitude and practice before and after the intervention were compared using paired t test. Results: After the intervention, scores of knowledge and practice increased significantly (P-value < 0.001 for both) and scores of attitude toward salty foods decreased significantly (P-value = 0.024). Most satisfaction aspects were at the highest level. Conclusion: The intervention of pharmacist supporting self-management with Line Official application improved knowledge, attitude and practice to delay CKD progression. It should be extended to CKD patients at the regular CKD clinic. Keywords: chronic kidney disease, Line Official application, knowledge, attitude, behavior

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2023-12-31