การพัฒนาน้ำยาบ้วนปากจากสารสกัดตำรับยาแก้รำมะนาด Development of Mouthwash from The Yakaerammanad Formula Extract
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาน้ำยาบ้วนปากจากสารสกัดตำรับยาแก้รำมะนาด วิธีการศึกษา: เตรียมสารสกัดน้ำด้วยการต้ม และสารสกัดเอทานอลด้วยการแช่สกัด นำสารสกัดของตำรับยาแก้รำมะนาดมาทดสอบปริมาณสารฟลาโวนอยด์รวมและปริมาณสารฟีนอลิกรวมด้วยวิธี Aluminium chloride และวิธี Folin-Ciocalteu ตามลำดับ ทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ Streptococcus mutans และ Candida albicans ด้วยวิธี Disc diffusion method และหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ (Minimal inhibitory concentration; MIC) และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ (Minimal bactericidal concentration; MBC / minimum fungicidal concentration; MFC) ด้วยวิธี Broth microdilution method โดยใช้ยา ampicillin และ amphotericin B เป็นสารมาตรฐาน นำสารสกัดที่มีประสิทธิภาพมาพัฒนาเป็นน้ำยาบ้วนปาก 3 สูตร และทดสอบความคงตัวทางกายภาพและทางเคมีในสภาวะเร่ง 7 รอบ ที่อุณหภูมิ 5 และ 45 องศาเซลเซียส ผลการศึกษา: สารสกัดน้ำมีปริมาณสารฟลาโวนอยด์รวมและสารฟีนอลิกรวมสูงสุดเท่ากับ 0.029 ± 0.018 g QE/ 100 g ของสารสกัด และ 11.440 ± 0.488 g GE/ 100 g ของสารสกัด ตามลำดับ สารสกัดเอทานอลของตำรับยาแก้รำมะนาดแสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Streptococcus mutans และ Candida albicans สูงสุดโดยแสดงค่า MIC เท่ากับ 1.953 และ 0.031 mg/mL ตามลำดับ ขณะที่ค่า MBC/MFC เท่ากับ 1.953 และ 15.625 mg/mL ตามลำดับ ผลการทดสอบความคงตัวพบว่า น้ำยาบ้วนปากสูตรที่ 2 มีสีเขียวอมเหลือง ไม่แยกชั้น ค่าความเป็นกรด-ด่างไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ และน้ำยาบ้วนปากสูตร 2 มีปริมาณสารฟลาโวนอยด์และสารฟีนอลิก สรุป: น้ำยาบ้วนปากจากสารสกัดตำรับยาแก้รำมะนาดสูตรที่ 2 มีความคงตัวทางกายภาพและทางเคมีที่เหมาะสมจะนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพช่องปากในอนาคตต่อไป คำสำคัญ: ตำรับยาแก้รำมะนาด, น้ำยาบ้วนปาก, ปริมาณสารฟลาโวนอยด์รวม, ปริมาณสารฟีนอลิกรวม, ฤทธิ์ต้านจุลชีพ Abstract Objective: To develop mouthwash from the Yakaerammanad formula extract. Methods: The aqueous extract was extracted by decoction, and the ethanolic extract by maceration. The aqueous and ethanolic extracts of the Yakaerammanad formula were determined for their total flavonoid and total phenolic contents using the aluminum chloride method and Folin-Ciocalteu assay, respectively. Antimicrobial activity against Streptococcus mutans and Candida albicans was determined by disc diffusion method, and minimum inhibitory concentration (MIC) and minimum bactericidal concentration (MBC) or minimum fungicidal concentration (MFC) were determined by broth microdilution method, using ampicillin and amphotericin B as positive controls. Effective Yakaerammanad formula extracts were developed into 3 formulas of mouthwash and tested for physical and chemical stability under heating-cooling conditions for 7 cycles at temperatures of 5 and 45 °C. Results: Aqueous extracts of the Yakaerammanad formula had the highest total flavonoid and total phenolic contents, which were 0.029 ± 0.018 g QE/100 g of extract and 11.440 ± 0.488 g GE/100 g of extract, respectively. The ethanolic extract of Yakaerammanad formula had highest antimicrobial activity against S. mutans and C. albicans, which showed MIC values of 1.953 and 0.031 mg/mL, respectively, while MBC and MFC values were 1.953 and 15.625 mg/mL, respectively. The results of the stability test showed that mouthwash formula 2 from the Yakaerammanad formula extract is greenish-yellow and does not precipitate. The pH values were not significantly different. The mouthwash formula 2 had total flavonoid and total phenolic contents. Conclusion: The mouthwash formula 2 from the Yakaerammanad formula extract had the appropriate physical and chemical stability to be developed into oral health care products in the future. Key words: Yakaerammanad formula, mouthwash, Total flavonoids content, total phenolic content, antimicrobial activityDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2023-12-31
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์