ความเหมาะสมในการจัดการความปวดด้วยยา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความปวด และอัตราการรอดชีวิตที่ระยะ 5 ปี ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในโรงพยาบาลสระบุรี Appropriateness of Pain Management with Medications, Factor Associated with Pain and 5-Year Survival Rate of Cervical Cancer Patients at Saraburi Hospital
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความเหมาะสมในการจัดการความปวดด้วยยา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความปวด และอัตราการรอดชีวิต 5 ปี ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลสระบุรี วิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลย้อนหลังในเวชระเบียนของผู้ป่วยที่รับการรักษาในช่วง 1 ม.ค. ถึง 31 สิงหาคม 2560 แล้วติดตามจนครบ 5 ปีหลังการวินิจฉัย วิเคราะห์ความเหมาะสมในการจัดการความปวดตามคำแนะนำของ WHO Analgesic Ladder ใช้ multiple linear regression ทดสอบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคะแนนความปวดที่ลดลง ใช้สถิติ Log-rank test และ Kaplan-Meier survival analysis วิเคราะห์อัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 127 คน อายุเฉลี่ย 56.17 ปี ส่วนใหญ่เป็นระยะ IIb (26.0%) เป็นมะเร็งที่ยังไม่ลุกลาม (74.0%) ความปวดปานกลาง (4 – 6 คะแนน) (50.5%) พบความเหมาะสมในการจัดการความปวดด้วยยาที่ 92.91% คะแนนเฉลี่ยความปวดหลังได้รับยา 48 ชั่วโมงลดลง 3.77 คะแนน ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคะแนนความปวดที่ลดลง คือ ระยะของมะเร็ง ขนาดก้อนมะเร็ง จำนวนอวัยวะที่แพร่กระจาย และจำนวนโรคประจำตัว (P-value < 0.05) อัตรารอดชีวิตที่ 5 ปี เป็น 65.40% สรุป: ความเหมาะสมในการจัดการความปวดด้วยยาของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกเป็น 92.91% คะแนนความปวดลดลง 3.77 คะแนน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคะแนนความปวดที่ลดลง คือ ระยะของมะเร็ง ขนาดก้อนมะเร็ง จำนวนอวัยวะที่แพร่กระจาย และจำนวนโรคประจำตัว อัตราการรอดชีวิต 5 ปีที่ 65.40% คำสำคัญ: การจัดการความปวด, มะเร็งปากมดลูก, อัตราการรอดชีวิต Abstract Objective: To determine appropriateness of pain management, factors associated with pain and 5-year survival rate of cervical cancer patients at Saraburi Hospital. Method: Data of cervical cancer patients receiving treatment between January 1 to August 31, 2017 with 5 years after diagnosis were used for analysis. Appropriateness of pain management was assessed according to the WHO Analgesic Ladder. Factors associated with the decreased pain score were tested using multiple linear regression analysis. 5-year survival rate was analyzed using Log-rank test and Kaplan Meier survival analysis. Results: A total of 127 patients were 56.17 years by average. Most patients were with stage IIb (26.0 %) and non-metastasized cancer (74.0%), and with moderate pain (4 – 6 points) (50.5%). Appropriateness of pain management was 92.91%. Pain score within 48 hours after pain medication decreased by 3.77 points with (P-value < 0.001). Decreased pain scores were associated with cancer stage, tumor size, number of metastasized organs, and number of underlying diseases (P-value < 0.05). 5-year overall survival rate was 65.40%. Conclusion: Appropriateness of pain management was 92.91%. Pain score decreased by 3.77 points. Decreased pain score was associated with cancer stage, tumor size, number of metastasized organs, and number of underlying diseases. 5-year overall survival rate was 65.40%. Key words: pain management, cervical cancer, 5-year survival rateDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2023-06-30
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์